Page 38 - b30427_Fulltext
P. 38

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                       มาตรการทางกฎหมายในการ ควบคุม กำกับ ดูแลส่งเสริม และ
           สนับสนุนกีฬามวยไทยและมวยสากล พบว่าประเด็นเกี่ยวกับการควบคุมกำกับดูแล

           ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬามวยตามกฎหมายฉบับนี้ ยังไม่เป็นรูปธรรมและไม่ครอบคลุม
           เพียงพอเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นักวิจัยยังมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติม
           พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ให้มีบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการว่าด้วย

           ข้อสัญญา และคณะอนุญาโตตุลาการเพื่อการระงับข้อพิพาทอันเกิดจากกีฬามวย
           เพื่อให้มีการยุติข้อพิพาทโดยเร็ว และให้เพิ่มบทบัญญัติในด้านการอนุรักษ์กีฬามวยและ
           การจัดสวัสดิการให้กับนักมวยตามระดับความสามารถรวมถึงการจัดสรรด้านเงิน

           งบประมาณให้กับค่ายมวย เพื่อเป็นการการควบคุมกำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุน
           กีฬามวยของไทยให้มีความก้าวหน้าอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปในอนาคต 21

                       ในการดูแลสุขภาพของนักกีฬา ก็มีนักวิจัยได้ศึกษา มาตรการทาง

           กฎหมายในการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจากการแข่งขันกีฬาโดยได้
           เปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ พบว่า ประเทศไทยยังไม่มี
           มาตรการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจากการแข่งขันกีฬาที่เพียงพอ

           เนื่องจากมีเพียงแค่กีฬามวยชนิดเดียวเท่านั้นที่มีกฎหมายบัญญัติถึงมาตรการ
           ป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองซึ่งจะแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาและ
           ประเทศอังกฤษที่ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจาก

           การแข่งขันกีฬาไว้เกือบทุกชนิดกีฬา แต่อย่างไรก็ตามมาตรการป้องกันการกระทบ
           กระเทือนทางสมองจากการแข่งขันกีฬาในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ
           ก็ไม่ได้มีลักษณะเป็นกฎหมายแต่อย่างใด องค์กรกีฬาที่ควบคุมดูแลกีฬาชนิดนั้น ๆ

           ได้ใช้วิธีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระทบกระเทือนทางสมอง และ
           โรคเนื้อเยื่อสมองเสื่อมรุนแรงเรื้อรังให้แก่นักกีฬา และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้
           บุคคลดังกล่าวได้ตระหนักถึงความอันตรายร้ายแรงของการกระทบกระเทือนทางสมอง

           และโรคเนื้อเยื่อสมองเสื่อมรุนแรงเรื้อรัง นอกจากนี้ องค์กรกีฬาเหล่านั้นยังได้มีการ
           แก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับ หรือแก้ไขกฎกติกาการแข่งขันอีกประการหนึ่งด้วยเพื่อเป็น
           การส่งเสริม และแสดงให้เห็นว่าองค์กรกีฬาก็ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกัน
           การกระทบกระเทือนทางสมองและโรคเนื้อเยื่อสมองเสื่อมรุนแรงเรื้อรังเช่นกัน

           โดยการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ

                  21   อดุลย์ ทานาราช, “มาตรการทางกฎหมายในการ ควบคุม กำกับ ดูแล ส่งเสริมและสนับสนุน
           กีฬามวยไทยและมวยสากล,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 6, ฉ.2 (2557): 83.


                                               2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43