Page 33 - b30427_Fulltext
P. 33

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                       ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย
           มีผู้ศึกษาพบว่าสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีลักษณะพิเศษต่างจากสัญญาจ้าง

           แรงงานในเรื่องสถานที่ทำงาน, เวลาทำงาน, วันหยุด, วันลา, การจ่ายค่าจ้าง, เงื่อนไข
           การสิ้นสุดสัญญา, เงื่อนไขเมื่อนักฟุตบอลได้รับบาดเจ็บ, การปฏิบัติตามระเบียบของ
           องค์กรด้านฟุตบอล เป็นต้น อีกทั้งนักกีฬาฟุตบอลอาชีพเป็นอาชีพที่มีลักษณะคล้าย

           อาชีพที่มีความเป็นวิชาชีพ กล่าวคือ สโมสรไม่สามารถมีอำนาจบังคับบัญชาในวิธีการ
           ทำงานของนักฟุตบอลเมื่อลงทำการแข่งขันได้จึงทำให้สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ
           มีลักษณะแตกต่างออกไป สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน

           โดยแท้ โดยมีสถานะทางกฎหมายเป็น “สัญญาจ้างแรงงานชนิดพิเศษ” ที่ไม่มีการปรับ
           ใช้ตามบทบัญญัติกฎหมายแรงงาน สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพจึงเป็นสัญญาไม่มี
           ชื่อชนิดหนึ่งที่คู่สัญญามีอิสระในการกำหนดข้อตกลงได้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย

           และศีลธรรมอันดีของประชาชน และปรับใช้กฎหมายตามหลักกฎหมายสัญญาทั่วไป
           อีกทั้งในปัจจุบันที่สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ มีการพัฒนาการกำหนดข้อตกลง
           ทางธุรกิจไว้ในสัญญา การนำกฎหมายแรงงานที่มีกรอบกฎหมายที่เคร่งครัดมาปรับใช้

           กับสัญญาจึงไม่เป็นการเหมาะสม ลักษณะของสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ไม่นำ
           กฎหมายแรงงานมาปรับใช้กับสัญญามีลักษณะคล้ายสัญญาเช่าต่างตอบแทนชนิด
           พิเศษที่ศาลฎีกาไทยเคยวางหลักว่าไม่ให้นำกฎหมายในเรื่องเช่าบางประการมาปรับใช้
           กับสัญญาเช่าดังกล่าว เมื่อสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพไม่มีการบังคับตาม

           กฎหมายแรงงาน จึงอาจเกิดปัญหาตามมาในเรื่องความคุ้มครองนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ
           อาทิ สโมสรอาจกำหนดข้อตกลงในสัญญาจ้างที่ไม่คุ้มครองนักฟุตบอลเท่าที่ควร หรือ

           มีข้อตกลงที่เป็นการเอาเปรียบนักฟุตบอล ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีหลักเกณฑ์
           ในการคุ้มครองนักกีฬา ฟุตบอลอาชีพจากการทำสัญญาจ้าง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์
           ในรูปแบบ สัญญาจ้างมาตรฐานจากองค์กรที่ควบคุมดูแลด้านฟุตบอล เพื่อนำมาบังคับใช้
           ในการกำหนดข้อตกลงในสัญญาจ้างระหว่างสโมสรกับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ นอกจากนี้

           ผู้วิจัยยังเสนอแนะว่าควรมีการกำหนดข้อตกลงในสัญญาจ้างมาตรฐานนักฟุตบอล
           อาชีพในประเทศไทยให้มีข้อกำหนดในลักษณะเดียวกับสัญญาจ้างมาตรฐาน

           ต่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศมีพัฒนาการ ของสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพ
           มาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังเป็นข้อกำหนดที่เหมาะสมกับ ลักษณะงานและ








                                              22
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38