Page 32 - b30427_Fulltext
P. 32
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
นอกจากนี้ ยังมีผู้ศึกษาประเด็นปัญหากฎหมายภายในประเทศ
ไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย
โดยพบว่า กฎหมายภายในประเทศไทยที่ถูกใช้กำกับดูแลวงการกีฬาภายในประเทศ
มีความไม่สอดคล้องกับธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ธรรมนูญศาลกีฬาโลก ฯลฯ
ซึ่งถือเป็นกฎหมายกีฬาระหว่างประเทศ เพราะได้รับการยอมรับจากสังคมกีฬา
ระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนถือได้ว่า เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
ซึ่งความไม่สอดคล้องที่มีนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อวงการกีฬาภายใน
ประเทศไทย และอาจส่งผลต่อการพัฒนาวงการกีฬาอาชีพ และกีฬาสมัครเล่นภายใน
ประเทศที่อาจทำให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาจนเป็นผู้นำทางด้านการกีฬา
ในภูมิภาคได้ในส่วนของสถานะทางกฎหมายของนักกีฬาอาชีพ พบว่าประเทศไทย
ในปัจจุบันมีผู้ที่ประกอบอาชีพ “นักกีฬา” เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จาก
ความเป็นที่นิยมของกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย นอกจากนั้นพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 ก็ยังขาดเนื้อหาสาระที่จะเป็นการคุ้มครองนักกีฬา
ฟุตบอลอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังขาดความเชื่อมโยงกับธรรมนูญของสหพันธ์ฟุตบอล
นานาชาติ และธรรมนูญของศาลกีฬาโลก ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากรณีข้อพิพาทควรจะ
ต้องนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลกีฬาโลก ทั้งนี้เพราะนักกีฬาอาชีพมีความแตกต่าง
จากแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะลักษณะงาน
มีความแตกต่างกัน จึงไม่สามารถนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ เพื่อคุ้มครอง
สิทธิของนักกีฬาอาชีพได้อย่างเต็มที่ รวมไปถึงประเด็นการระงับข้อพิพาท พบว่า
ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาททางการกีฬาเป็นการเฉพาะ
ทำให้ดำเนินการไม่เป็นกิจจะลักษณะไม่เป็นระบบ อีกทั้งผู้มีความรู้ ความชำนาญ
เกี่ยวกับกฎหมายกีฬามีจำนวนน้อย และระยะเวลาในการดำเนินการใช้เวลานาน ซึ่งส่ง
ผลกระทบต่อการแข่งขันกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีช่องทางให้นักกีฬา หรือ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาที่ได้รับความเสียหายดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลกีฬาโลก
ซึ่งเป็นหนึ่งในช่องทางระงับข้อพิพาททางการกีฬา ที่ได้รับการยอมรับและยึดถือโดย
องค์กรกีฬาระหว่างประเทศ 15
15 ปรีดา ม่วงมี, “ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกีฬาระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีกีฬาฟุตบอล
อาชีพในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามคำแหง, 2557).
21
สถาบันพระปกเกล้า