Page 34 - b30427_Fulltext
P. 34

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ความคุ้มครองนักกีฬาฟุตบอลอาชีพมากที่สุด 16

                       ในประเด็นเกี่ยวกับ สถานะทางกฎหมายของเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอล

           อาชีพในประเทศไทย มีผู้วิจัยพบว่า มีการกระทำตามแบบของสัญญามาตรฐาน
           ที่กำหนดโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ โดยหน้าที่ของเอเย่นต์ที่พบในประเทศไทยนั้น
           จะทำหน้าที่ในการแนะนำนักกีฬาฟุตบอลให้แก่สโมสรฟุตบอลรวมถึงรับหน้าที่ในการ

           เจรจาข้อสัญญาจ้างระหว่างนักกีฬากับสโมสรฟุตบอลด้วย โดยเอเย่นต์จะได้รับค่า
           ตอบแทนที่คิดจากมูลค่าของรายได้ที่นักกีฬาฟุตบอลจะได้รับจากสัญญาจ้าง สถานะ
           ของสัญญาเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ปรากฎตามหลักกฎหมายไทยจึงเป็นสัญญา

           ไม่มีชื่อชนิดหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างคู่สัญญา
           โดยคู่สัญญามีอิสระในการกำหนดข้อตกลงได้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ
           ศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่เอเย่นต์มีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับ

           ฐานะของบุคคลผู้ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจลักษณะงานของเอเย่นต์ที่ให้บริการ
           ในการจัดหาสโมสรฟุตบอลให้แก่นักกีฬาฟุตบอลหรือจัดหานักกีฬาฟุตบอลให้ตาม
           ความต้องการของสโมสรฟุตบอลนั้น มีลักษณะเป็นการให้บริการจัดหางาน ตามความหมาย

           ของพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แต่อย่างไรก็ตาม
           การจะนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การประกอบธุรกิจของเอเย่นต์นักกีฬา
           ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยนั้น ไม่สอดคล้องกับลักษณะของตลาดแรงงานนักกีฬา

           อาชีพ ที่มีลักษณะแตกต่างจากตลาดแรงงานทั่วไป จึงควรให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน
           ทางด้านการกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในการ
           ออกกฎระเบียบมาเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจของเอเย่นต์ในระบบกีฬาอาชีพของ

           ประเทศไทย สำหรับมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจของเอเย่นต์นักกีฬา
           ฟุตบอลอาชีพที่เหมาะสมกับประเทศไทยในขณะนี้ ควรเป็นการควบคุมธุรกรรม
           ระหว่างสโมสรกับนักกีฬาฟุตบอลที่มีการใช้บริการของเอเย่นต์ ไม่ว่าจะเป็นเอเย่นต์

           ที่ได้รับใบรับรองจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งจะสอดคล้อง
           กับบริบทของวงการกีฬาฟุตบอลอาชีพไทยที่ยังนิยมใช้บุคคลที่ไม่ใช่เอเย่นต์ที่ได้รับ
           การรับรองจากสมาคมฯ เข้ามาช่วยในการติดต่อและเจรจาสัญญา ผ่านทางการกำหนด
           ให้เป็นหน้าที่ของสโมสรฟุตบอลอาชีพที่มีการเจรจาสัญญาจ้าง หรือสัญญาโอนย้ายโดย



                  16  สมพล วิธีธรรม, “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,”
           (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
           2556).


                                               2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39