Page 29 - b30427_Fulltext
P. 29
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
กำหนดในเรื่องการคุ้มครองระยะเวลาการทำงานของนักกีฬาอาชีพ การคุ้มครอง
นักกีฬาฝึกงาน การคุ้มครองกรณีนักกีฬาอาชีพประสบอันตรายหรือบาดเจ็บเนื่องจาก
การทำงานการคุ้มครองเกี่ยวกับการทำสัญญาจำกัดการประกอบอาชีพของนักกีฬา
และการระงับข้อพิพาทในวงการกีฬา เป็นต้น 11
ในการคุ้มครองสวัสดิการนักกีฬาอาชีพ ก็มีนักวิจัยที่ลงไปศึกษากรณี
ของนักกีฬาฟุตบอลเอาไว้ พบว่า เมื่อมีการทำสัญญาจ้างระหว่างสโมสรกับนักกีฬา
เพื่อให้เป็นกีฬาอาชีพดังเช่นในปัจจุบันนี้ ทำให้ต้องมีการศึกษาถึงสถานะทางกฎหมาย
ของสัญญาจ้างระหว่างสโมสรกับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพว่ามีสถานะทางกฎหมาย
เป็นอย่างไร ระหว่างสัญญาจ้างแรงงานสัญญาจ้างทำของ หรือเป็นสัญญาไม่มีชื่อ
ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพเป็นสัญญาจ้างไม่มีชื่อ
ที่คู่สัญญามีอิสระในการกำหนดข้อตกลงได้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน และปรับใช้กฎหมายตามหลักกฎหมายสัญญาทั่วไป
นอกจากการศึกษาสัญญาจ้างงานแล้ว ยังศึกษาถึงสวัสดิการของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ
ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ
พ.ศ. 2556 เพื่อใช้เป็นกฎหมายที่จะส่งเสริมกีฬาอาชีพของประเทศไทยให้มีมาตรฐาน
เดียวกันกับนานาประเทศ รวมไปถึงมาตรฐานสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพและ
สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่นักกีฬาฟุตบอลอาชีพพึงได้รับ ดังนั้นผู้วิจัยเสนอแนะว่าสัญญา
จ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยควรมีการกำหนดสัญญาในรูปแบบสัญญา
มาตรฐานไว้ในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพเพื่อกำหนด
ให้มีสวัสดิการแก่นักกีฬาฟุตบอลอาชีพอัน ได้แก่ ให้มีการทำประกันภัยและให้มี
การจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ อันเป็นสวัสดิการที่นักกีฬา
พึงได้รับอย่างเท่าเทียมกันทุกคน รวมไปถึงควรกำหนดเรื่องการเลิกจ้างด้วยเหตุอัน
ไม่เป็นธรรมโดยอ้างเหตุแห่งการบาดเจ็บของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพไว้ในสัญญาจ้างด้วย
และให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือนักกีฬาฟุตบอลอาชีพจากการถูกเลิกจ้าง
อันไม่เป็นธรรม การกำหนดสัญญาจ้างที่เป็นมาตรฐานดังกล่าวก็เพื่อให้นักกีฬาฟุตบอล
อาชีพได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันทุกคน 12
11 สุนาฏ หาญเพียรพงศ์, “กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาอาชีพ” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550).
12 พลสิทธิ์ ยางนิยม, “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิการนักกีฬาอาชีพ: ศึกษากรณี
นักกีฬาฟุตบอล” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีปทุม, 2561).
1
สถาบันพระปกเกล้า