Page 26 - b30427_Fulltext
P. 26
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
กฎหมายกีฬาภาพรวม
กฎหมายกีฬาภาพรวม มีผู้ศึกษาในหลากหลายประเด็น เช่น
การกำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ การคุ้มครองนักกีฬาอาชีพของไทย การคุ้มครอง
นักกีฬาอาชีพ ปัญหาการล้มกีฬา ซึ่งผลการวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นปัญหาทาง
กฎหมายกีฬามากมาย โดยเฉพาะการคุ้มครองดูแลนักกีฬา โดยมีรายละเอียดดังนี้
งานวิจัยด้านกฎหมายกีฬาได้มีผู้ศึกษาในเชิงเปรียบเทียบกับกฎหมาย
ต่างประเทศไว้ในประเด็นการกำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ โดยผลการวิจัยพบว่า
กีฬาอาชีพของประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกีฬาอาชีพ
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 และคณะกรรมการกีฬามวย
ตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของ
สาธารณรัฐฝรั่งเศส พบว่า มีกฎหมายกีฬาอาชีพโดยเฉพาะเหมือนกัน โดยสาธารณรัฐ
ฝรั่งเศส มีประมวลกฎหมายกีฬาใช้บังคับกับกีฬาอาชีพ มีสหพันธ์กีฬาเป็นองค์กร
กำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ และประชาชนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมกีฬา
ได้เช่นเดียวกัน แตกต่างกันที่สมาคมกีฬาของสาธารณรัฐฝรั่งเศสหากที่มีค่าใช้จ่าย
ในการจ้างนักกีฬาสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จะต้องจัดตั้งเป็นบริษัทกีฬาตามประมวล
กฎหมายพาณิชย์ถือว่าเป็นหน่วยงานทางธุรกิจที่ดำเนินกิจการโดยมุ่งแสวงหากำไร
ส่วนประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับกีฬาอาชีพโดยเฉพาะ
แต่จะให้องค์กรกีฬาอาชีพกำกับดูแลกันเอง ซึ่งประเทศอังกฤษรัฐจะไม่เข้ามาแทรกแซง
ในการกำกับดูแลสมาคมกีฬา แต่จะให้การสนับสนุนด้านกีฬาเป็นการทั่วไป
ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะมีสมาคมกีฬาอาชีพเป็นองค์กรใหญ่ที่คอยกำกับดูแลและส่งเสริม
สมาคมกีฬาอาชีพแต่ละชนิดอีกด้วย นอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าวยังนำบทเรียนของ
ต่างประเทศมาวิเคราะห์กับประเทศไทย ซึ่งพบปัญหาทางกฎหมายในการกำกับดูแล
และส่งเสริมกีฬาอาชีพ โดยพบว่ายังมีปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามคำว่า “นักกีฬาอาชีพ”
ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาองค์กรกำกับดูแล ปัญหาสัญญาเกี่ยวกับกีฬาอาชีพ และปัญหากระบวนการ
ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับกีฬาอาชีพ ที่ยังขาดความเหมาะสมกับบริบทของการกีฬา
ส่วนแนวทางการพัฒนากฎหมายกำกับดูแลกีฬาอาชีพควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม
“นักกีฬาอาชีพ” ให้หมายถึง ผู้รับค่าจ้างจากสมาคมกีฬาอาชีพหรือสโมสรกีฬาอาชีพ
1
สถาบันพระปกเกล้า