Page 22 - b30427_Fulltext
P. 22

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           จึงมีสนามกีฬาของทีมเหล่านี้ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปทั้งประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
           ที่สร้างเหล่านักกีฬาให้ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จในระดับอาชีพในเวลาต่อมา


                 เหตุที่คณะผู้วิจัยเลือกประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาครั้งนี้ เนื่องจาก
           ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการใช้กฎหมายระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบ
           กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับประเทศไทย และถือได้ว่าเป็นประเทศที่มี

           ศักยภาพการกีฬาสูงในภูมิภาคเอเชีย โดยดูได้จากเหรียญที่เคยได้ในการแข่งขันกีฬา
           โอลิมปิก และยังมีกีฬาอาชีพในประเทศ เช่น ฟุตบอล เบสบอล กอล์ฟ มวย เทนนิส
           ซูโม่ บาสเกตบอล เป็นต้น อีกทั้งมีเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษให้ศึกษาเป็นจำนวนมาก


                 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research)

                 งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นวิธีการหลักในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้

           โดยพิจารณาจากสภาพของคำถามและข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งเป็นกฎหมาย คำพิพากษา
           ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากเอกสาร ทั้งนี้โดยศึกษา
           เอกสารทุกประเภท เช่น ตำรา หนังสือ บทความวารสาร บทความหนังสือพิมพ์

           บทความออนไลน์ฯลฯ รวมถึงสื่ออื่น ๆ ที่ศึกษาได้ในลักษณะเดียวกับการศึกษา
           เอกสาร เช่น สารคดี วีดีทัศน์ ฯลฯ

                 อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยให้ความสำคัญกับการเลือกแหล่งที่มาของข้อมูลเป็น

           พิเศษ เพราะในงานวิจัยเอกสารนั้น คณะผู้วิจัยไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับปัญหาและ
           ข้อมูลโดยตรง แต่ศึกษาเพื่อตอบคำถามวิจัยผ่านเอกสารที่มีการจดบันทึกเป็นหลัก
           และสอดคล้องกับสภาพของข้อมูลที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและสังคมทั่วไป

           จึงสามารถหาเอกสารที่เป็นทางการและเชื่อถือได้มากพอสมควร ดังนั้น การเลือกใช้
           เอกสาร ผู้วิจัยเลือกใช้เฉพาะเอกสารที่สามารถระบุตัวผู้ให้ข้อมูลได้ เว้นแต่งานที่ไม่
           ปรากฏผู้ให้ข้อมูลนั้นจะมีอิทธิพลสำคัญในทางวิชาการอย่างยิ่ง


                 หลักในการเลือกใช้เอกสารอีกประการคือ คณะผู้วิจัยจะเลือกใช้เอกสารชั้นต้น
           หรือเอกสารในชั้นปฐมภูมิเป็นอันดับแรก ในแต่ละประเด็นที่ศึกษา เว้นแต่ไม่สามารถ
           หาเอกสารชั้นต้นชิ้นนั้นได้หรือเอกสารชิ้นนั้นถูกเขียนในภาษาที่ผู้วิจัยไม่สามารถ

           อ่านได้







                                               11
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27