Page 19 - b30427_Fulltext
P. 19

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           กีฬาอาชีพ (Professional Sports Participants) เช่น เจ้าของสโมสรกีฬา ผู้ฝึกสอน
           กีฬา กรรมการผู้ตัดสินกีฬา นักกีฬาอาชีพและผู้ชมการแข่งขันกีฬา ต่างต้องเคารพ

           กฎเกณฑ์ ระเบียบ กติกาและข้อบังคับร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างการแข่งขันกีฬา
           และพัฒนากิจกรรมกีฬาให้มีมาตรฐาน การกำหนดมาตรฐานเช่นว่านี้ย่อมทำให้
           การจัดการแข่งขันกีฬาและการดำเนินกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีขั้นตอน

           ในการบริหาร มีกระบวนการดำเนินการขององค์กรกำกับกีฬาเพื่อให้เกิดการพัฒนา
           กีฬาในแต่ละชนิดกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

                 อย่างไรก็ตามโดยที่ปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในแวดวงกีฬาและธุรกิจ

           อุตสาหกรรมกีฬาในปัจจุบันมีความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้จะเคยมี
           การบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนธรรมาภิบาล
           กีฬาทั่วไปและธรรมาภิบาลในบางชนิดกีฬามาใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่กลับ

           ปรากฏว่ามีปัญหาทางกฎหมายในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งที่เป็น
           ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของนักกีฬาและปัญหาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในแวดวงกีฬา
           ในการดำเนินการของธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและมีปัญหา

           ทางกฎหมายเกี่ยวกับธรรมาภิบาลกีฬาเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายส่งผลให้จำเป็นต้องมี
           การศึกษากฎหมายกีฬา (Sports law) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ โดยยกเลิก
           กฎหมายที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการส่งเสริมสนับสนุนสิทธิของนักกีฬา รวมทั้ง

           การแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพนักกีฬา
           ให้มีความเป็นเลิศสู่การประกอบอาชีพนักกีฬาที่ยั่งยืนและมีเส้นทางอาชีพนักกีฬา
           ที่มั่นคง แม้ในปัจจุบันกฎหมายกีฬายุคใหม่ของประเทศไทยจะเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทาง

           กฎหมายในบางชนิดกีฬาและมีบทบัญญัติในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลกีฬาและการใช้
           อำนาจเหนือองค์กรกำกับกีฬา (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน) ได้ดีกว่ายุคเดิม
           แต่ทว่ากลไกทางกฎหมายสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในทางกฎหมาย

           และอุปสรรคบางประการ หากปราศจากหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในกฎหมายกีฬา
           ยุคใหม่ของประเทศไทย

                 จากปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมา ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการศึกษาและวิเคราะห์ถึง

           กฎหมายกีฬาของประเทศไทยที่หน่วยงานของรัฐด้านกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
           มหาชนได้บัญญัติขึ้น เพื่อใช้บังคับกับองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
           เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาให้ปฏิบัติตามหรือเพื่อกำหนดระเบียบ





                                          สถาบันพระปกเกล้า
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24