Page 17 - b30427_Fulltext
P. 17
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ออกทุนให้ผู้อื่นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ในแวดวงกีฬา แต่ในปัจจุบันมีการขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเป็นผลมาจาก
การพัฒนาระบบการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นและกีฬาอาชีพให้มีความตื่นเต้นเร้าใจและ
ดำเนินการสื่อสารอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้การแข่งขันกีฬาเป็นไปอย่างน่าติดตาม
ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องหันมา
พึ่งพารายได้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา ทำให้เกิด
การพัฒนากฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่กำหนดมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ
อุตสาหกรรมกีฬาอาชีพ การกำเนิดขึ้นของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาซึ่งใช้
การดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเป็นหลักและความนิยมในการพัฒนาประเพณีปฏิบัติ
ในการประกอบธุรกิจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาให้กลายมาเป็นระเบียบ
ปฏิบัติในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญให้เกิดบรรทัดฐานที่กำหนด
ให้ผู้คนในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาต้องประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวดภายใต้กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับและกติกาอันเป็นที่ยอมรับในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาเช่นว่านี้จึงไม่เพียงจะมีความสำคัญต่อการละเล่น
กีฬา ในเกมการแข่งขันกีฬา หากแต่ยังถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกำกับและ
ควบคุมการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา (Sport Industries and Businesses) เช่น
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกเกี่ยวกับกีฬา (Sports Merchandise Businesses)
ธุรกิจแพร่เสียงแพร่ภาพรายการแข่งขันกีฬา (Sports Broadcasting Businesses)
และธุรกิจการจัดการแข่งขันระบบลีก (Sports League Businesses) โดยองค์กร
กำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนและนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
อาจกำหนดหลักเกณฑ์บางอย่างมาให้สอดคล้องกับกฎหมายของรัฐที่บังคับใช้อยู่
ในขณะนั้น ในขณะเดียวกันก็เป็นนำเอากฎหมายของรัฐที่บังคับใช้อยู่สร้างเป็นกฎเกณฑ์
เฉพาะเพื่อกำกับและควบคุมการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา เช่น กฎหมายทรัพย์สิน
9
ทางปัญญา กฎหมายแรงงาน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
การดำรงอยู่ของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาในแวดวงกีฬาระดับนานาชาติ
หรือวงการกีฬาระดับประเทศ ล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมกีฬา ผ่านการดำเนินงานขององค์กรกำกับกีฬา (หรือ SGBs) เพื่อให้
9 András Gurovits, The Sports Law Review, (London: Law Business Research Ltd,
2015), 201-215.
สถาบันพระปกเกล้า