Page 18 - b30427_Fulltext
P. 18

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           กิจกรรมการแข่งขันกีฬาหรือกิจการกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาดำเนินไปด้วยความเป็น
           บริสุทธิ์ยุติธรรม (Fair Play) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาในแวดวงกีฬาระดับ

           นานาชาติหรือวงการกีฬาระดับประเทศยังอาจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดระเบียบ
           ให้องค์กรกำกับกีฬา ซึ่งครอบคลุมถึง หน่วยงานของรัฐด้านกำกับกิจการกีฬา (Sports
           Authorities) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาระบบลีก (League Organisers) สมาคมกีฬา

           (Sports Associations) และสโมสรกีฬา (Sports Clubs) ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่าง
           ปกติสุข มีความรู้รักสามัคคีและตระหนักถึงความมีน้ำใจนักกีฬา อีกทั้งยังเป็นส่วน
           เสริมความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาอาชีพ (Professional Sports

           Players) มีโอกาสพัฒนาตนสู่ความเป็นเลิศในการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและ
           ยั่งยืน ในขณะเดียวการวางระบบและกลไกกำกับธรรมาภิบาลกีฬา (Sports
           Governance) ขององค์กรกำกับกีฬาอาชีพ (SGBs) ย่อมทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

           ในวงการกีฬาภายในประเทศมีโอกาสที่จะเผชิญกับความยุติธรรม ความโปร่งใสและ
           การเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม อันเป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้ส่งเสริม
           พัฒนากีฬาอาชีพ (Sports Professional) สอดคล้องกับความการยกระดับการกำกับ

           ธรรมาภิบาลกีฬาให้ได้มาตรฐานสู่สากล

                 อนึ่ง หน่วยงานของรัฐที่กำกับกิจการกีฬาของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการกีฬา
           แห่งประเทศไทย (Sports Authority of Thailand หรือ SAT) อันเป็นหน่วยงาน

           รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรมพลศึกษา (Department
           of Physical Education หรือ DPE) อันเป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวง
           การท่องเที่ยวและกีฬาได้มีความพยายามพัฒนากิจการกีฬาในภายในประเทศไทยและ

           ผลักดันให้การแข่งขันกีฬาในระดับต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในประเทศไทยให้มีความเป็นอาชีพ
           (Professionalism) มากยิ่งขึ้น ผ่านความพยายามในการกำหนดกฎ ระเบียบ
           ข้อบังคับและกติกาในแวดวงกีฬาสอดคล้องกับมาตรฐานด้านกีฬาอาชีพระดับ

           นานาชาติและพัฒนามาตรฐานด้านกีฬาอาชีพเฉพาะให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น
           ในสังคมกีฬาไทย เช่น พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติควบคุม
           การใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ
           พ.ศ. 2556 อีกทั้งองค์กรกำกับกีฬาระดับชาติ (ในแต่ละชนิดกีฬา) เช่น สมาคมกีฬา

           ระดับชาติ (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนประเภทสมาคม) และบริษัทเอกชนผู้จัดการ
           แข่งขันกีฬาระดับชาติ (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนประเภทบริษัท) ก็ได้พัฒนา

           กฎเกณฑ์ ระเบียบ กติกาและข้อบังคับของตนเพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมกับการแข่งขัน



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23