Page 15 - b30427_Fulltext
P. 15

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           เท่านั้น หากแต่กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาเหล่านี้ยังต้องมีมาตรฐาน (Standard)
           การแข่งขันกีฬาหรือการบริหารจัดการการแข่งขันกีฬาเป็นสิ่งที่ยอมรับนับถือเป็น

           การทั่วไป

                 มาตรฐานการแข่งขันกีฬาหรือการบริหารจัดการการแข่งขันกีฬาจะเกิดขึ้นมาได้
           หรือไม่นั้น องค์กรกำกับกีฬาต้องมีส่วนสำคัญในการกำหนดมาตรฐาน (Standardisation)
                                                                                    3
           ให้มีกลไกหรือกระบวนการนำไปสู่ในการวางกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาเกี่ยวกับ
           การละเล่นกีฬา การแข่งขันกีฬาหรือการสร้างธรรมาภิบาลกีฬาในชนิดกีฬาต่าง ๆ
           เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้อ้างอิงและปฏิบัติตามกันเป็นการทั่วไปในแวดวงกีฬา

           เหตุนี้เององค์กรกำกับกีฬา (หรือ SGBs) ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
                                                  4
           ที่มีหน้าที่กำกับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาก็ดี  หรือนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
                                                              5
           ที่มีหน้าที่กำกับนโยบายและกิจการกีฬาระดับประเทศก็ตาม  ต่างก็ต้องพยายามสร้าง
           กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาให้มีมาตรฐาน ใช้ต้องกำหนดความประพฤติของ
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาและระบุแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬา หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด

           ฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกา อาจต้องเผชิญกับการบังคับใช้กฎ ระเบียบ
           ข้อบังคับและกติกาตามสภาพบังคับเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาหรือ
           ในวงการกีฬาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งสภาพบังคับของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

           และกติกาในทำนองนี้อาจมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลดีและสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย


                  3  Ken Foster, “Lex Sportiva and Lex Ludica: the Court of Arbitration for Sport’s
           Jurisprudence,” Entertainment and Sports Law Journal 3, no.1 (2005): 1-15.
                  4  ในทางทฤษฎีองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน มักก่อตั้งในรูปแบบของ
           สมาคม (Associations) เพื่อกำกับดูแลในแต่ละชนิดกีฬาหรืออาจก่อตั้งในรูปแบบของบริษัทเอกชน
           (Private Companies) เพื่อจัดการแข่งขันระบบการแข่งขันแบบลีก (League System) ให้เป็นไปโดย
           เรียบร้อย ซึ่งองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนในรูปแบบของสมาคมกีฬาอาจออกกฎ
           หรือคำสั่งมาเพื่อใช้กำกับดูแลธรรมาภิบาลและควบคุมระเบียบวินัยกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรกำกับ
           กีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนในรูปแบบของบริษัทอาจออกกฎหรือคำสั่งมาเพื่อควบคุมการแข่งขัน
           กีฬาอาชีพให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การออกกฎหรือคำสั่งเช่นว่านี้ย่อมเป็นอำนาจเด็ดขาด (Monopoly
           Power) ขององค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนโดยแท้ โปรดดู Simon Boyes, “Sport
           in Court: Assessing Judicial Scrutiny of Sports Governing Bodies,” Nottingham Trent University,
           Accessed July 27, 2020, http://irep.ntu.ac.uk/id/eprint/31582/1/PubSub9059_Boyes.pdf.
                  5  Eddie T. C. Lam, “The Roles of Governance in Sport Organizations,” Journal of
           Power, Politics & Governance 2, no.2 (2014): 19-31.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20