Page 16 - b30427_Fulltext
P. 16

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                 สำหรับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่กำหนดมาตรฐานและสร้างธรรมาภิบาล
                                                              6
           ในแวดวงกีฬานั้น อาจมีที่มาได้จาก 3 แหล่งที่มาด้วยกัน  อาทิ (ก) กฎ ระเบียบ
           ข้อบังคับและกติกาที่องค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
           และนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนได้บัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมา
           เพื่อเป็นหลักเกณฑ์กำหนดความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับการกีฬา

           ในแต่ละชนิดกีฬาและประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบอย่างเป็นทางการ
           (ข) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่องค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
           เอกชนและนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนได้กำหนดเอาไว้อาจถูกพัฒนามาจาก

           ประเพณีประพฤติสืบต่อกันมาในแวดวงกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือในสังคมกีฬาสากล
           จนผู้คนในแวดวงกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือผู้คนในสังคมกีฬาสากลมีความรู้สึกร่วมกัน
           ว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามอาจต้องได้รับผลร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด

           และ (ค) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาย่อมอยู่ภายใต้รากฐานของหลักกฎหมาย
           กีฬา (Principles of Sports Law) ที่กำหนดนิติปรัชญาบางอย่างอันเป็นที่ยอมรับ
           นับถือกันอยู่ทั่วไปอย่างสากลในแวดวงกีฬาระดับนานาชาติและวงการกีฬาระดับชาติ


                 อีกประการหนึ่ง เมื่อมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงการละเล่นเกมกีฬาทั่วไป
           เพื่อความสนุกเพลิดเพลินให้กลายมาเป็นการละเล่นเกมกีฬาเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
           กระบวนการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ย่อมทำให้กีฬากลายเป็นอุตสาหกรรมกีฬา (Sports

           Industrialisation)  อุตสาหกรรมกีฬาเช่นว่านี้มีวิธีดำเนินการในอุตสาหกรรมและ
                            7
           ระบบธุรกิจค้าขายในอุตสาหกรรมที่ได้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นลักษณะเฉพาะของ
                            8
           อุตสาหกรรมกีฬา  ซึ่งจากเดิมการละเล่นเกมกีฬาหรือการแข่งขันกีฬามักทำกัน
           โดยปราศจากนายทุนผู้ที่เป็นเจ้าของทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาหรือ



                  6  อย่างไรก็ตาม ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) คำพิพากษาของศาลจึงเป็น
           บ่อเกิดของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศาลยุติธรรมได้วินิจฉัยปัญหา
           เกี่ยวกับสิทธิของนักกีฬาหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับธรรมาภิบาลกีฬาเอาไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ศาลยุติธรรม
           ซึ่งพิจารณาคดีอันมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน ย่อมต้องผูกพันที่จะต้องพิจารณาพิพากษาตามที่คำพิพากษา
           ในคดีก่อนๆ ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ โปรดดูคดี Eastham v Newcastle United Football Club Ltd
           [1964] Ch 413.

                  7  Miloš Galantic, “Sports Law: Some Introductory Considerations,” Annals of Applied
           Sport Science 4, no.3 (2016): 51-59.
                  8  Patrik Pettersson, “The development of player transfer fees in the English Premier
           League,” (Bachelor Thesis in Economics, Mälardalen University Västerås, 2017): 7-14.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21