Page 25 - b30427_Fulltext
P. 25
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงต้องมีกฎหมายที่ควบคุมดูแลการแข่งขันมวย และ
ส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยให้มีมาตรฐาน และเพื่อจัดให้มีสวัสดิการแก่นักมวยและ
บุคคลในวงการกีฬามวยที่เหมาะสม
พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555
กฎหมายฉบับนี้ เกิดจากการที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ซึ่งเป็นองค์กร
เอกชนที่องค์กรกีฬานานาชาติยอมรับในมาตรการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
ทางการกีฬา ได้ประกาศให้ดำเนินการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
โดยการสร้างทักษะความพร้อมทางกายภาพและจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
ในการแข่งขันกีฬาด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมเป็นไปด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
โดยไม่ต้องใช้สารต้องห้าม รวมทั้งให้การคุ้มครองต่อสุขภาพและความปลอดภัยของ
นักกีฬา เพื่อให้มีมาตรการการควบคุมการใช้สารต้องห้ามที่สอดคล้องกับคำประกาศ
โคเปนเฮเกนว่าด้วยการต่อต้านสารต้องห้ามทางการกีฬา และส่งเสริมความร่วมมือ
ด้านกีฬากับนานาประเทศ
1.5.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จาการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาของไทย สามารถแบ่งกลุ่ม
งานวิจัยได้อยู่ 2 กลุ่มหลัก ๆ ที่สำคัญคือ 1 กลุ่มงานวิจัยด้านกฎหมาย 2 กลุ่มงาน
วิจัยด้านการบริหารจัดการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มงานวิจัยด้านกฎหมายการกีฬา
ในกลุ่มงานวิจัยด้านกฎหมายการกีฬา ผู้วิจัยทบทวนแล้วพบว่า
มีผู้ศึกษาการกีฬาในทางกฎหมายหลายหลายสาขา ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายอาญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและ
มีการศึกษากฎหมายในประเภทกีฬาที่ได้รับความนิยมเช่น กีฬามวย กีฬาฟุตบอล
ทำให้เห็นขอบเขตความรู้ด้านกฎหมายกีฬาพอสมควร โดยในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยขอแยก
กลุ่มงานวิจัยออกเป็น 2 ด้าน คือกฎหมายการกีฬาภาพรวม กับกฎหมายกีฬาเฉพาะ
ประเภทกีฬา
1
สถาบันพระปกเกล้า