Page 30 - b30427_Fulltext
P. 30

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                       ในประเด็น ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดทางอาญา ศึกษา
           ปัญหาการล้มกีฬาตามกฎหมายไทย พบว่า ในการจัดการแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

           ในประเทศไทยใช้เงินงบประมาณและเงินสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเมื่อ
           เกิดการล้มกีฬาสมัครเล่นขึ้นย่อมกระทบต่อประโยชน์ของบุคคล ได้แก่ นักกีฬา
           ผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการล้มกีฬา ประชาชนที่ซื้อบัตรเข้าชมไม่ได้

           รับชมการแข่งขันอันสุจริต กระทบต่อประโยชน์ของธุรกิจ ประโยชน์ของรัฐ และ
           ก่อให้เกิดผลร้ายต่อวงการกีฬาโดยรวม ดังนั้น จึงควรกำหนดขอบเขตของความรับผิด
           ทางอาญาฐานล้มกีฬาให้ครอบคลุมการล้มกีฬาสมัครเล่นด้วย ในด้านลักษณะ

           การกระทำความผิด พระราชบัญญัติกีฬามวยและพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ
           บัญญัติลงโทษการให้หรือรับสินบนเพื่อล้มกีฬา จากการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการล้มกีฬา
           พบว่าไม่ได้มีแต่เฉพาะกรณีให้หรือรับสินบนเพื่อล้มกีฬาเพียงอย่างเดียว ยังคงมีกรณีที่

           นักกีฬาหรือผู้ตัดสินทำการล้มกีฬาด้วยตนเอง เพื่อนำไปเล่นการพนันโดยมิได้รับ
           อามิสสินจ้างจากบุคคลอื่นด้วย ซึ่งการล้มกีฬาวิธีนี้กระทำได้ง่ายและมีโอกาสประสบ
           ความสำเร็จมากกว่าวิธีให้สินบน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องในการล้มกีฬาน้อยกว่า ทำให้

           โอกาสที่ความลับจะถูกเปิดเผยนั้นลดน้อยลงไปด้วย โดยเฉพาะกีฬาประเภทบุคคลที่
           นักกีฬาทำการแข่งขันคนเดียวการล้มกีฬา โดยมิได้ให้หรือรับสินบนที่มีเจตนาเพื่อ
           แสวงหาประโยชน์จากการพนันสมควรต้องถูกลงโทษทางอาญาเนื่องจากเป็นพฤติกรรม
           การทุจริตคอร์รัปชัน แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากการพนัน

           แม้จะมีบทกฎหมายใกลเคียงที่อาจนำมาใช้ลงโทษผู้ล้มกีฬาโดยมิได้รับสินบนได้ คือ
           พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2476 และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมาย

           อาญามาตรา 341 แต่ก็มีอัตราโทษต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตราโทษของการให้หรือรับ
           สินบนเพื่อล้มกีฬาอีกทั้งฐานความผิดใกล้เคียงนี้เป็นการลงโทษพฤติกรรมการเล่นพนัน
           หรือโกงการพนัน ไม่ได้ลงโทษพฤติกรรมการล้มกีฬา ดังนั้น จึงควรบัญญัติกฎหมาย
           ลงโทษการล้มกีฬาโดยมิได้ให้หรือรับสินบนที่มีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์จาก

           การพนัน 13








                  13  ภรณี ตัณฑชุณหม์, “ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดทางอาญา : ศึกษาปัญหาการล้ม
           กีฬาตามกฎหมายไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์
           มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).


                                               1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35