Page 31 - b30427_Fulltext
P. 31
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
กฎหมายกีฬาเฉพาะประเภทกีฬา
ในงานวิจัยทางกฎหมายกีฬาเฉพาะประเภทกีฬานี้ งานวิจัยจำนวนมาก
ศึกษาไปที่กีฬาประเภทฟุตบอล ทั้งในมุมของเครื่องหมายการค้าของสโมสรฟุตบอล
สถานะของกฎหมายระหว่างประเทศในการกำกับกีฬาฟุตบอล สัญญานักกีฬาฟุตบอล
อาชีพ สถานะทางกฎหมายของเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ การระงับข้อพิพาท
ทางการกีฬา การแข่งขันทางการค้า นอกจากกีฬาฟุตบอลแล้ว กีฬามวยก็มีคนศึกษา
เช่นเดียวกัน ดังมีรายละเอียดดังนี้
การศึกษากฎหมายในขอบข่ายของกีฬายังครอบคลุมไปถึงประเด็น
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในเครื่องหมายการค้าของสโมสรฟุตบอลในอาเซียน
โดยพบว่า ปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้าในเสื้อสโมสรกีฬาฟุตบอลทำให้เป็น
อุปสรรคและขัดต่อเจตนารมณ์ในการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อใช้
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นแนวทางต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
เพราะฉะนั้นประเทศสมาชิกควรมีการแก้ไขปัญหาของความแตกต่างกันด้านกฎหมาย
ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทเครื่องหมายการค้าที่ให้ความคุ้มครอง โดยมีการจดทะเบียน
ที่มีผลในการให้ความคุ้มครองจากการจดทะเบียนในประเทศหนึ่งประเทศใดในอาเซียน
แล้วมีผลไปยังทุกประเทศในอาเซียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้อง
จดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย
เนื่องจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในปัจจุบันจะมีผลผูกพันเฉพาะประเทศ
ที่จดทะเบียนเท่านั้น และมิให้ผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า นำเครื่องหมาย
การค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศ โดยผู้วิจัยเองได้เสนอทางออกของปัญหา
ดังกล่าวไว้น่าสนใจว่า ควรศึกษาการเข้าเป็นภาคีของพิธีสารกรุงมาดริด โดยยื่นคำขอ
เพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียวเพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้หลาย
ประเทศ ในคราวเดียวกันและเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ภายใน หรือมีกฎเกณฑ์ที่จำเป็นร่วมกันเพื่อเตรียมพร้อมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ในขณะเดียวกันควรป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนควรมีการดำเนิน
กระบวนการพิจารณาผ่านอนุญาโตตุลาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกันเพื่อความ
สะดวก รวดเร็วและประนีประนอม 14
14 วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล, ชนวัฒน์ สรรพสิทธิ์, และ อลงกร นำบุญจิตต์, รายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ เรื่อง มาตรการทางกฎหมายกีฬาอาชีพระหว่างประเทศในอาเซียน: กรณีศึกษาฟุตบอลอาชีพ,
(เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2557).
20
สถาบันพระปกเกล้า