Page 35 - b30427_Fulltext
P. 35

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ใช้บริการของเอเย่นต์ ไม่ว่าเอเย่นต์นั้นจะทำงานให้แก่สโมสร หรือให้แก่นักกีฬา
           ฟุตบอล ต้องรายงานรายละเอียดตลอดจนส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมดังกล่าว

           ต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบ อาทิ ผู้จัดการแข่งขัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบรายละเอียด
           ของสัญญาต่าง ๆ ที่เอเย่นต์นั้นเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้ 17

                       ในประเด็นการระงับข้อพิพาททางการกีฬา มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับกีฬา

           ฟุตบอลไทย โดยศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอล
           โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย พบว่าในการแข่งขันลีกฟุตบอลภายใน
           ประเทศไทย สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครอง

           สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2560 มีเนื้อหา
           ส่วนหนึ่งเพื่อควบคุมให้การแข่งขันลีกฟุตบอลเป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและ
           มีมาตรฐานสอดคล้องกับธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึงกำหนดบทลงโทษ

           สำหรับสโมสรฟุตบอลที่กระทำความผิดข้อบังคับในกรณีต่าง ๆ เมื่อเกิดกรณีที่สโมสร
           ฟุตบอลใดถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดตามข้อบังคับดังกล่าวและต่อมาสมาคมกีฬา
           ฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งลงโทษแก่สโมสรฟุตบอลนั้น ย่อมทำให้สโมสร

           ฟุตบอลดังกล่าวได้รับความเสียหายหากถูกคำสั่งลงโทษที่มีความร้ายแรง เช่น ปรับเงิน
           ปรับแพ้ หรือริบเงินรางวัล เป็นต้น ส่งผลให้สโมสรพยายามค้นหาช่องทางต่าง ๆ
           เพื่อลบล้างคำสั่งลงโทษ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสโมสรฟุตบอลมักจะนำคำสั่งลงโทษ

           ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยไปยื่นฟ้องต่อศาลภายในประเทศ ทั้งต่อ
                                                                    18
           ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งลงโทษ
                       ในการกำกับกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศนั้น การที่สมาคมกีฬา

           ฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA)
           ทำให้สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่ธรรมนูญสหพันธ์
           ฟุตบอลนานาชาติกำหนด ซึ่งบทบัญญัติของธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

           ได้กำหนดให้สมาคมกีฬาฟุตบอลทุกประเทศต้องดำเนินการด้วยความเป็นอิสระ


                  17   ชิดชนก ไชยเจริญ, “สถานะทางกฎหมายของเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,”
           (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
           2557).
                  18   ปองภพ นิลนพรัตน์, “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอลโดยสมาคมกีฬา
           ฟุตบอลแห่งประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์
           มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).


                                              2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40