Page 28 - b30427_Fulltext
P. 28

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           เนื่องจากกฎหมายของไทยในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายอื่นใด
           ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นนักกีฬาอาชีพจากการศึกษา

           สภาพทางข้อเท็จจริงในด้านการทำงานของนักกีฬาอาชีพแล้ว พบว่าปัญหาดังกล่าวเกิด
           ขึ้นเนื่องจากงานของนักกีฬาอาชีพนั้นมีลักษณะเฉพาะในหลาย ๆ ด้านซึ่งแตกต่างจาก
           ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานทั่วไป สุดท้ายผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขโดยนำ

           กฎหมายของประเทศอังกฤษมาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางแก้ไข
           ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพทางข้อเท็จจริงของประเทศไทย และมี
           การเสนอร่างกฎกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาสำหรับการออกกฎหมาย

           มาบังคับใช้ต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ

                       ประการที่ 1 รูปแบบของกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็น
           นักกีฬาอาชีพของประเทศไทยจากการศึกษาพบแนวทางเพื่อเพิ่มการคุ้มครองแรงงาน

           ให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นนักกีฬาอาชีพ โดยสามารถพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม
           ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
           โดยให้หน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับการ

           ตามกฎหมายแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายแรงงานต่าง ๆ เช่น
           พนักงานตรวจแรงงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ของกองทุนเงินทดแทนและสำนักงาน
           ประกันสังคม เป็นต้น หรืออาจเพิ่มความคุ้มครองโดยการตราเป็นกฎกระทรวง

           ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6
           และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ออกกฎกระทรวง
           ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

           ได้ตามอำนาจของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หรืออาจจะทำโดยการตรากฎหมายใหม่
           เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองนักกีฬาอาชีพโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการคุ้มครองการทำงาน
           ของนักกีฬาอาชีพได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                       ประการที่ 2 หลักการสำคัญที่ควรกำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครอง
           ลูกจ้างซึ่งเป็นนักกีฬาอาชีพจากการศึกษาพบว่าหลักการสำคัญที่ควรกำหนดเพิ่มเติม
           เพื่อคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นนักกีฬาอาชีพนั้น มีดังนี้ กำหนดถึงคำนิยามงานของ

           นักกีฬาอาชีพที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จัดตั้ง
           คณะกรรมการคุ้มครองนักกีฬาอาชีพเพื่อบังคับการตามกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้
           นายจ้างทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือและกำหนดโทษในกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม




                                               1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33