Page 27 - b30427_Fulltext
P. 27

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           กำหนดมาตรฐานรูปแบบของสัญญาจ้างให้ชัดเจน มีองค์กรหรือหน่วยงานระงับ
           ข้อพิพาทอันเกิดจากกีฬาอาชีพ และจัดตั้งสภากีฬาอาชีพให้เป็นผู้มีหน้าที่กำกับและ

           ส่งเสริมกีฬาอาชีพมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงการท่องเที่ยว
           และกีฬานอกจากนี้ แนวทางการพัฒนากฎหมายส่งเสริมกีฬาอาชีพ สามารถทำได้โดย
           การแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่กองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับ

           สวัสดิการนักกีฬาอาชีพและบุคลากรกีฬาอาชีพเพื่อจูงใจและพัฒนากีฬาอาชีพ
           พร้อมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้เอื้อต่อการสนับสนุนกีฬาอาชีพขององค์กรเอกชน
           และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย 10


                       ในประเด็นกฎหมายการคุ้มครองนักกีฬาอาชีพของไทย มีผู้วิจัยเข้าไป
           ศึกษาประเป็นดังกล่าวแล้วพบว่าอาชีพ “นักกีฬา” ยังไม่เป็นที่รับรู้และยอมรับอย่าง
           แพร่หลายถึงความเป็นอาชีพของกลุ่มบุคคลดังกล่าว ส่งผลให้นักกีฬาอาชีพ

           ขาดความชัดเจนทั้งในเรื่องสถานะ และสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีที่มี
           การทำสัญญาจ้างทำงานระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้านกีฬากับนักกีฬานั้น จะมีปัญหา
           เป็นอย่างมากว่าคู่สัญญามีนิติสัมพันธ์กันในรูปแบบใด สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอะไร

           ระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ อีกทั้งในวงการกีฬาอาชีพของ
           ประเทศไทยนั้น ยังไม่มีการยอมรับอย่างชัดเจนว่านักกีฬาอาชีพเป็นผู้ประกอบอาชีพ
           ในลักษณะวิชาชีพที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด ดังนั้น

           จึงพบปัญหาทางกฎหมายสำคัญ 2 ประการคือ ประการที่ 1 ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
           การไม่ยอมรับถึงนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานของนักกีฬาอาชีพและผู้ประกอบ
           ธุรกิจด้านกีฬาจากการศึกษาพบว่าปัญหานี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นเนื่องจากการที่นายจ้าง

           หรือผู้ประกอบธุรกิจด้านกีฬาไม่รู้หรือไม่ต้องการที่จะมีภาระหน้าที่ตามกฎหมาย
           แรงงาน อีกทั้งนักกีฬาหรือลูกจ้างก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะที่แท้จริงและ
           สิทธิหน้าที่ของตนตามกฎหมายแรงงาน จึงไม่ทำการเรียกร้องสิทธิที่ตนพึงได้รับตาม

           กฎหมายแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าตอบแทนในการทำงาน องค์กรที่คุ้มครอง
           ลูกจ้าง การได้รับความคุ้มครอง เมื่อประสบอันตรายหรือบาดเจ็บตามกฎหมายประกัน
           สังคมและกฎหมายเงินทดแทน การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย รวมถึงการเรียกร้อง
           ในกรณีที่เกิดการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น ประการที่ 2 ปัญหาที่เกิดขึ้น




                  10  เบญจวรรณ ธรรมรัตน์, “การพัฒนากฎหมายกำกับดูแลและส่งเสริมกีฬาอาชีพ” (วิทยานิพนธ์
           ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2559).


                                              1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32