Page 45 - b30427_Fulltext
P. 45
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ความชัดเจนในบทบาทหน้าที่และความเข้มแข็งอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ นโยบายหลากหลาย
จากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายรัฐบาลนำไปสู่การปฏิบัติการ ตลอดจนกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ ยังไม่เอื้อต่อการสร้างความฉับไวในการพัฒนา และส่งเสริมกีฬา
จึงเป็นเหตุทำให้เกิดระบบการพัฒนาและส่งเสริมการกีฬาเป็นระบบที่ค่อนข้างผูกขาด
โดยรัฐ และมีปัญหาที่สะสมไว้มากมาย 28
นอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของ
สถาบันการพลศึกษา : การพัฒนาเกณฑ์และประเมินโดยใช้ทฤษฎีโปรแกรม จากผล
29
การวิจัยครั้งนี้ขอเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปโดยแบ่งออก
เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
จากผลการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เกณฑ์การประเมิน
การดำเนินงาน การพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการพลศึกษา และผล
การประเมินการดำเนินงานการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการพลศึกษา
เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 รูปแบบแล้วจะเห็นได้ว่ามีความครอบคลุม
ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่จะเป็นองค์ประกอบในการขับเคลื่อนแผนงานโครงการ
ให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างครบถ้วน ซึ่งสถาบันการพลศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ได้ดังนี้ 30
1.1 จากเกณฑ์การประเมินการดำเนินงานการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ
ของสถาบันการพลศึกษาที่พัฒนาขึ้น สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ได้ดังนี้
1.1.1 สถาบันการพลศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำ
เกณฑ์การประเมินการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้นมาประยุกต์ใช้
ประกอบการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการให้มี
ความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดนโยบายในการนำ
ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ประกอบการจัดทำ
28 เรื่องเดียวกัน, 25.
29 นิกร สีแล, “ยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการพลศึกษา: การพัฒนา
เกณฑ์และประเมินโดยใช้ทฤษฎีโปรแกรม,” (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การออก
กำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555)
30 เรื่องเดียวกัน
สถาบันพระปกเกล้า