Page 68 - b30427_Fulltext
P. 68
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ในกรณีองค์กรกำกับกีฬาอยู่ในฐานะผู้จัดการแข่งขันกีฬาแล้ว (Single Sport
Event Organisers) ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้จัดการแข่งขันกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา
(Sport Event Organisers) ก็ดีหรือผู้จัดการแข่งขันกีฬาหลายชนิดในการแข่งขันเดียว
(Multi-sport Event Organisers) ก็ตาม สมาชิกผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาที่องค์กร
กำกับกีฬาในฐานะผู้จัดการแข่งขันกีฬาขึ้นมา ก็ย่อมต้องยินยอมผูกพันตนเข้าร่วมการ
แข่งขันกีฬาและยินยอมผูกพันตนจะยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบของการแข่งขันกีฬา
โดยหากสมาชิกผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่องค์กร
กำกับกีฬาได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้แล้ว สมาชิกผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาจต้องเผชิญ
กับสภาพบังคับของกฎระเบียบต่อเมื่อมีการฝ่าฝืนกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬา
ว่าด้วยการละเล่นกีฬาหรือการจัดการแข่งขันกีฬา แต่ในกรณีองค์กรกำกับกีฬาอยู่ใน
ฐานะผู้ควบคุมมาตรฐานการละเล่นกีฬา (game standards) และควบคุมมาตรฐาน
53
จริยธรรม (Ethical Standards) ของนักกีฬาอาชีพหรือนักกีฬาสมัครเล่น สมาชิก
ขององค์กรกำกับกีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) ก็ย่อมต้องยินยอมผูกพันตนจะยอม
ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬา หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการละเล่นกีฬาหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการฝ่าฝืนจริยธรรมหรือ
ไม่ปฏิบัติตามจรรณยาบรรณของการเป็นนักกีฬาแล้ว นักกีฬาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
นักกีฬาอาจต้องเผชิญกับสภาพบังคับของกฎระเบียบต่อเมื่อมีการฝ่าฝืนกฎระเบียบของ
องค์กรกำกับกีฬาว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักกีฬา โดยหาก
องค์กรกำกับกีฬาพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกข้อกล่าวหาหรือมีคำสั่งลงโทษทางวินัย
(Sanction Orders) อย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ว่าจะเป็นตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้
ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรและเพิกถอนใบอนุญาต หากผู้ร้องเรียนไม่
54
เห็นด้วยหรือในกรณีที่องค์กรกำกับกีฬาได้ใช้ดุลพินิจออกคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่
นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องแล้ว นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ที่เกี่ยวข้องที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าว สามารถใช้สิทธิของตน
อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยได้
53 Ken Foster, “Is There a Global Sports Law,” The Entertainment and Sports Law
Journal 2, no.1 (2003): 1–18.
54 James AR Nafziger, “Nonaggressive Sanctions in the International Sports Arena,”
Case Western Reserve Journal of International Law 15, no.2 (1983): 329-342.
สถาบันพระปกเกล้า