Page 74 - b30427_Fulltext
P. 74

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตาม
           กฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬาที่นักกีฬาหรือผู้จัดการแข่งขันกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา

           พึงต้องเคารพปฏิบัติตาม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะเด่นหรือเป็นเอกลักษณ์ของ
           การจัดองค์กรกำกับกีฬาตามหลักการสากล


           2.3 ธรรมาภิบาลกีฬา


                 หลักเกณฑ์และกลไกของกฎหมายกีฬาได้ให้ความสำคัญกับการสร้างธรรมาภิบาล

           (Good Governance) เป็นอย่างมาก โดยองค์กรกำกับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาและ
           องค์กรกำกับกีฬาในฐานะผู้จัดการแข่งขันกีฬามีภารกิจส่งเสริมสนับสนุนให้เกิด
           ธรรมาภิบาลในแวดวงกีฬาและวางมาตรฐานดำเนินกิจกรรมการกีฬาให้เป็นไปตาม

           กฎระเบียบเกี่ยวกับธรรมาภิบาลกีฬา การที่องค์กรกำกับกีฬาดำเนินกิจกรรมส่งเสริม
           สนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในวงการกีฬาย่อมถือเป็นการยกระดับกีฬาและการกีฬา
                                                58
           ให้นำไปสู่การแก้ปัญหาภายในวงการกีฬา  เช่น ปัญหาจากการขาดความโปร่งใส
           ในการดำเนินงาน ปัญหาการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในการแข่งขันกีฬาและ
           ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในวงการกีฬา เป็นต้น

                 การบริหารองค์กรกำกับกีฬาอย่างสากลจึงต้องอาศัยหลักการบริหารตามหลัก

           ธรรมาภิบาลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลกีฬา (Sports
           Governance) ซึ่งหลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วย
           สร้างธรรมาภิบาลกีฬาใน 2 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ (ก) องค์กรกำกับกีฬาต้องกำกับ

           ภายในองค์กรของตนเองด้วยการดำเนินกิจกรรมและการบริหารตามกลไกการทำงาน
           ของคณะกรรมการบริหาร (กำกับวินัยนักกีฬาหรือเพื่อควบคุมการแข่งขันกีฬาให้เป็น
           ไปตามมาตรฐานสากล) และเจ้าหน้าที่ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดธรรมาภิบาลในองค์กร

           อย่างเป็นระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน และสร้างความเชื่อมั่นต่อนักกีฬาและผู้มีส่วนได้
           ส่วนเสียในแวดวงกีฬาว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยปราศจากการเลือก
           ปฏิบัติ และ (ข) องค์กรกำกับกีฬาต้องกำกับดูแลองค์กรกำกับกีฬาลำดับรองลงมา

           (ภายใต้โครงสร้างองค์กรกำกับกีฬาแบบพีระมิดหรือ “Pyramid Structure”)


                 58  European Commission, “Expert Group “Good Governance” Deliverable 2 Principles
           of good governance in sport,” September 2013, Accessed March 7, 2021, https://ec.europa.eu/
           assets/eac/sport/library/policy_documents/xg-gg-201307-dlvrbl2-sept2013.pdf.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79