Page 76 - b30427_Fulltext
P. 76

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                 ธรรมาภิบาลกีฬาเป็นคำที่ใช้กันอย่างกว้างขว้างและถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้าง
           ในการบริหารจัดการกีฬายุคใหม่ ธรรมาภิบาลกีฬาถูกนำมากล่าวอ้างในนโยบาย

           สาธารณะด้านกีฬาและถูกนำเอามาอ้างอิงในกฎระเบียบทางการกีฬา อันนำไปสู่
           การสร้างแนวทางการกำกับดูแลกีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) หรือควบคุมการแข่งขันกีฬา
           (ในแต่ละระดับชั้น) ให้มีมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดของหลัก

           ธรรมาภิบาลมักถูกนำมาอ้างอิงในการสร้างนิติธรรม (Rule of Law) กฎกติกาว่าด้วยกีฬา
           หรือการแข่งขันกีฬาที่สามารถอำนวยความยุติธรรมในแวดวงกีฬาได้อย่างมี
           ประสิทธิภาพกับถูกนำมาอ้างอิงในการใช้อำนาจตามกฎกติกาว่าด้วยกีฬาหรือ

           การแข่งขันกีฬาอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
           ของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา

                 ในปี 2008 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic

           Committee หรือ IOC) ได้จัดทำ “เอกสารหลักสากลพื้นฐานว่าด้วยธรรมาภิบาล
           โอลิมปิกและการขับเคลื่อนกีฬา”หรือ “Basic Universal Principles of Good
                                                                60
           Governance of the Olympic and Sports Movement”  โดยคณะกรรมการ
           โอลิมปิกสากลได้กำหนดหลักการพื้นฐานธรรมาภิบาลกีฬาที่สัมพันธ์กับกฎระเบียบ
           ทางการกีฬาและกฎหมายกีฬา เช่น การกำหนดกฎระเบียบอย่างเป็นทางการของ
           องค์กรกำกับกีฬาและการบัญญัติกฎหมายกีฬาของหน่วยงานกำกับกีฬาของรัฐต้อง

           กำหนดเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน (Clear Regulations) อันนำไปสู่
           ความเข้าใจที่แน่นอน ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่ข้อมูล
           ข่าวสาร และการเข้าถึงข้อมูลอย่างครบครัน เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า เอกสาร

           ฉบับนี้กลับไม่ได้กำหนดนิยามความหมายของธรรมาภิบาลกีฬาสากลเอาไว้อย่างชัดเจน
           คงกำหนดเพียงหลักการกว้าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาสากล
           หรือนักกฎหมายกีฬาระหว่างประเทศนำไปปรับใช้หรือตีความกันอย่างกว้างขวาง


                 ในปี 2013 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลในสหภาพยุโรป (EU’s Expert
           Group on Good Governance หรือ (XG GG) ได้ร่วมกันจัดทำ “เอกสารหลักการ



                 60  International Olympic Committee, “Basic Universal Principles of Good Governance of
           the Olympic and Sports Movement,” 2008, Accessed March 7, 2021, https://stillmed.
           olympic.org/Documents/Conferences_Forums_and_Events/2008_seminar_autonomy/
           Basic_Universal_Principles_of_Good_Governance.pdf.




                                          สถาบันพระปกเกล้า
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81