Page 80 - b30427_Fulltext
P. 80
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ยอดขายสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสมาชิกสโมสรกีฬาอาชีพ
(membership) ผ่านการผูกสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาวเพื่อโฆษณาทำการตลาดไป
พร้อมกับเสริมสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าจงรักภักดีกับสโมสรกีฬาของตนและระบบ
การเป็นผู้สนับสนุนด้านกีฬา (sponsorship) ผ่านการการลงทุนของธุรกิจ
อุตสาหกรรมในลักษณะของการสนับสนุนประโยชน์ทางธุรกิจทั้งที่เป็นตัวเงินและหรือ
ไม่ใช่ตัวเงิน โดยมุ่งหวังที่จะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกลับคืนมาเป็นสำคัญ
อีกทั้งในวงการกีฬาประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย อาทิ ผู้จัดการแข่งขัน
กีฬา (Organising body) นักกีฬาอาชีพ (Professional Players) นักกีฬาสมัครเล่น
(Amateur Players) สโมสรกีฬา (Sports Clubs) ผู้ฝึกสอนกีฬา (Coaches) ผู้ตัดสิน
กีฬา (Referees) เอเยนต์นักกีฬา (Sports agents) และผู้ชมการแข่งขันกีฬา
(Sports Spectators) ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้อาจร่วมมือร่วมใจกันดำเนิน
กิจกรรมการแข่งขันกีฬาหรือเข้าร่วมในเกมส์การแข่งขันกีฬาเพื่อให้บรรลุผลตาม
เป้าหมายกำหนดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นชัยชนะเหนือคู่แข่งในการแข่งขันกีฬาหรือ
ผลประโยชน์ทางธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันกีฬาหรือเข้าร่วมการแข่ง
ขันกีฬา ในทางตรงกันข้ามการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาอาจก่อให้เกิดข้อพิพาท
(disputes) หรือข้อขัดแย้งระหว่างคู่กรณีที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาด้วยกัน
อีกประการหนึ่งในวงการกีฬาประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นนักกีฬาสมัครเล่นและนักกีฬาอาชีพล้วนแล้วแต่มีสิทธิ
ในความเป็นนักกีฬาและสิทธิในความเป็นมนุษย์ อันเป็นสิทธิที่ได้มาในฐานะที่นักกีฬา
ดังกล่าวได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมกีฬาและได้มาตามธรรมชาติ
ในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่เกิดมามีสภาพบุคคล รัฐหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
รายอื่น ๆ ไม่อาจกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด อันล่วงละเมิดต่อ
ความเป็นนักกีฬาและความเป็นมนุษย์เช่นว่านี้ได้ การกระทำหรืองดเว้นกระทำการ
อย่างหนึ่งอย่างใด อันกระทบต่อสิทธิในชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี
ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ย่อมถือเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิของ
นักกีฬา ในทางตรงกันข้ามบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักกีฬาทั้งในฐานะ
ที่เป็นผู้จ้าง (employers) เอเยนต์ (agents) และคู่สัญญา (contract parties) ได้รับ
ความเสียหายจากการละเมิดสิทธิหรือกระทำผิดหน้าที่ของนักกีฬา บุคคลที่เข้ามา
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักกีฬาเหล่านี้ย่อมถูกล่วงละเมิดสิทธิจากนักกีฬาได้ เมื่อเกิด
ความขัดแย้ง (conflict) จากการละเมิดสิทธิระหว่างนักกีฬากับบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
สถาบันพระปกเกล้า