Page 52 - 30423_Fulltext
P. 52
46
นอกจากนี้องค์กรก ากับกีฬาเป็นองค์กรที่มีอ านาจออกกฎระเบียบมาก ากับตนเอง (Self-
Regulatory Body) ประเภทหนึ่ง นั้นหมายความว่าองค์กรก ากับกีฬามีหน้าที่ออกกฎระเบียบมา
ก ากับดูแลกันเองในแต่ละชนิดกีฬาหรือในแต่ละการแข่งขันกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา (Self-
23
Regulation) การก ากับดูแลกันเองระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาย่อมเป็นกลไกส าคัญ
ที่องค์กรก ากับกีฬาใช้ในการก ากับมาตรฐานจริยธรรมและควบคุมมาตรฐานการแข่งขันกีฬา เพื่อให้
นักกีฬาหรือผู้จัดการแข่งขันกีฬาปฏิบัติตนให้คงไว้ซึ่งมาตรฐานของการเป็นนักกีฬาที่ดีและการแข่งขัน
ให้เป็นไปตามหลักการสากล ซึ่งกลไกการก ากับดูแลกันเองขององค์กรก ากับกีฬาเช่นว่านี้ส่งอิทธิพลให้
องค์กรก ากับกีฬาออกกฎระเบียบขึ้นมาเพื่อก ากับตนเองและสมาชิกขององค์กรก ากับกีฬาก็ต้องยอม
ตนผูกพันให้ถูกควบคุมก ากับโดยองค์กรก ากับกีฬา (Membership Contract) ในแต่ละองค์กรก ากับ
กีฬาอาจมีการจัดท าธรรมนูญสูงสุดของกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา (Constitutional Framework) อัน
เป็นกฎระเบียบแม่บทของกฎระเบียบทั้งหลายในองค์กรก ากับกีฬาล าดับสูงสุดในชนิดกีฬานั้น ๆ และ
องค์กรก ากับกีฬาล าดับรองอื่น ๆ ก็ต้องยอมตนปฏิบัติตามกฎระเบียบในท านองนี้ กฎระเบียบของ
องค์กรก ากับกีฬาล าดับรองอื่น ๆ จะขัดแย้งกับเนื้อความตามกฎระเบียบแม่บทสูงสุดไม่ได้ กฎระเบียบ
ที่ออกโดยองค์กรก ากับกีฬาล าดับรองอื่น ๆ ต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันธรรมนูญ
สูงสุดของกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬานั้น ๆ
หากกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬาใดขัดหรือแย้งต่อกฎหมายของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กฎระเบียบที่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นว่านี้รัฐ (รัฐบาลของ
แต่ละประเทศ) อาจใช้อ านาจแทรกแซงทางอ้อม (Indirect Government Intervention) โดยการ
ออกนโยบายกีฬา (Sports Policy) มาก ากับและก าหนดแนวการปฏิบัติขององค์กรก ากับกีฬาหรืองด
การสนับสนุนทางการเงิน (Funding Support) แก่องค์กรก ากับกีฬาที่ออกกฎระเบียบอันฝ่าฝืนต่อ
หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาสากล อีกทั้งหน่วยงานของรัฐก ากับด้านกีฬาอาจใช้อ านาจ
แทรกแซงโดยตรง (Direct Government Intervention) ด้วยการออกกฎหมายล าดับรองส าหรับ
ควบคุมการออกกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬาหรือก าหนดความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
แวดวงกีฬา เพื่อให้องค์กรก ากับกีฬาต้องออกกฎระเบียบให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพของนักกีฬาสากลหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพนักกีฬาสากล หากฝ่าฝืนองค์กรก ากับกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาอาจได้รับ
ผลร้ายหรือถูกลงโทษ
24
23 Sophie Lamb and Daniel Astaire, “Self-regulation in sport: why arbitration is leading the field,”
Bird & Bird LLP (2007), Accessed March 7, 2021,
https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=854ba448-3867-4413-91d0-4504e4dd5f89.
24 Richard Pomfret and John K. Wilson, “The Peculiar Economics of Government Policy towards
Sport,” Agenda: A Journal of Policy Analysis and Reform 18 ,no.1 (2011): 85-98.