Page 47 - 30423_Fulltext
P. 47
41
ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้รับความเป็นธรรมและถูกปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการด าเนินกิจกรรมกีฬาและเข้า
ร่วมการแข่งขันกีฬา
กล่าวโดยสรุปกฎหมายกีฬามีที่มาจากการน าเอากฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นมาใช้
ก าหนดความประพฤติและระงับข้อพิพาทระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาและการบัญญัติ
กฎหมายขึ้นมาใหม่มาใช้ควบคุมความประพฤติและระงับข้อพิพาทระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวด
วงกีฬา ซึ่งกฎหมายกีฬาอาจมีสภาพบังคับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติตาม หากไม่
ปฏิบัติตามก็อาจได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใด โดยกฎหมายกีฬาอาจเป็นการน าเอา
กฎหมายทั่วไปอันมีเนื้อความในลักษณะเกี่ยวข้องกับกีฬาหรือการกีฬาหรือมีเนื้อความที่อาจถูกหยิบ
ยกขึ้นมาเพื่อปรับใช้กับข้อพิพาททางการกีฬา อาทิ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมาย
ระหว่างประเทศ ในท านองเดียวกันนักกฎหมายกีฬาได้พยายามศึกษากฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ
การกีฬาหรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อก ากับธรรมาภิบาลกีฬาโดยเฉพาะ ผ่านการรวบรวมกฎหมาย
เกี่ยวกับที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและการกีฬาเอาไว้เป็นเรื่องเดียวกัน พร้อมกับท าการศึกษากฎหมาย
ดังกล่าวอย่างเป็นระบบกับจ าแนกหัวข้อศึกษาอย่างเป็นหมวดหมู่ แล้วระหว่างหัวข้อศึกษาในแต่ละ
หมวดหมู่ก็อาจมีเนื้อหาหรือบริบทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เหตุนี้เองกฎหมายกีฬาจึงมีลักษณะเป็น
สาขาวิชาเฉพาะในนิติศาสตร์ (Specialised Law Subjects) และมีขอบเขตของการศึกษาเฉพาะใน
นิติศาสตร์ (Specialised Law Areas) จนมหาวิทยาลัยในบางประเทศได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท
ทางกฎหมายกีฬาและหลักสูตรปริญญาเอกทางกฎหมายที่มีการศึกษาวิจัยในสาขาวิชากฎหมายกีฬา
อีกทั้งในบางประเทศได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับอาชญากรรมทางกีฬาหรือควบคุมธรร
มาภิบาลกีฬาเป็นการเฉพาะ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศสมีประวัติการจัดท าเป็นประมวลกฎหมายกีฬา
(Code du sport) ขึ้นมาเป็นการเฉพาะภายใต้แนวคิดการจัดระบบ (Concurrence Systématique)
18
และรวมรวมกฎหมายให้เป็นหมวดหมู่ (Codification) เกี่ยวกับกีฬาหรือการกีฬาของสาธารณรัฐ
ฝรั่งเศส เป็นต้น
2.2 การจัดองค์กรกำกับกีฬา
องค์กรก ากับกีฬา (Sports Governing Bodies หรือองค์กร SGBs) ได้แก่ กลุ่มบุคคลธรรมดา
หรือนิติบุคคล (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชน) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบก ากับดูแล
ธรรมาภิบาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือมีหน้าที่จัดท าบริการสาธารณะเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน
ธรรมาภิบาลกีฬา (Sports Governance) รวมทั้งองค์กรกีฬาที่มีหน้าที่หลักด าเนินการอันเป็น
18 Laurence Lefèvre and Patrick Bayeux, Rapport Gouvernance du sport 2018, (Paris: Ministère des
Sports, 2018), Accessed March 7, 2021, https://www.vie-
publique.fr/sites/default/files/rapport/pdf/184000682.pdf