Page 48 - 30423_Fulltext
P. 48
42
สาธารณะประโยชน์อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสนับสนุนกีฬาหรือการกีฬา โดยองค์กรเช่นว่านี้มัก
ด าเนินงานด้วยรูปแบบของคณะกรรมการ (Committee หรือ Board) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อก ากับธรร
มาภิบาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือควบคุมดูแลการจัดการแข่งขันกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาให้ได้
มาตรฐานสากล ในขณะเดียวกันองค์กรก ากับกีฬามีหน้าที่ส าคัญ 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ (ก)
19
ประการแรก องค์กรก ากับกีฬามีหน้าที่ออกกฎระเบียบ (Regulatory Function) โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งกฎระเบียบที่มีผลบังคับในแต่ละชนิดกีฬาหรือในการแข่งขันกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาที่องค์กรก ากับ
กีฬาดังกล่าวมีหน้าที่ก ากับดูแลหรือควบคุม โดยกฎระเบียบต้องไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีทาง
กีฬาอย่างหนึ่งอย่างใดหรือนักกีฬาคนหนึ่งคนใดเป็นการเฉพาะ องค์กรก ากับกีฬาจะสามารถออก
กฎระเบียบได้หรือไม่นั้น ก็ต่อเมื่อมีระเบียบข้อบังคับจัดตั้งขององค์กรก ากับกีฬาสถาปนาอ านาจ
ดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ กฎระเบียบที่ออกโดยองค์กรก ากับกีฬามักถูกก าหนดขึ้นโดยคณะกรรมการ
ที่มีอ านาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการวางกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬา เพื่อใช้เป็น
เครื่องมือก ากับธรรมาภิบาลกีฬาและควบคุมมาตรฐานการแข่งขันกีฬา ทั้งนี้กฎระเบียบที่ออกโดย
องค์กรก ากับกีฬากีต้องมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปและไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มอิทธิพลใดในธุรกิจ
อุตสาหกรรมกีฬาหรือกลุ่มผลประโยชน์ใดในวงการกีฬาเป็นพิเศษ และ (ข) องค์กรก ากับกีฬามีหน้าที่
ออกค าสั่งลงโทษ (Sanctioning Function) โดยคณะกรรมการหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้
อ านาจขององค์กรก ากับกีฬามีอ านาจออกค าสั่งลงโทษทางวินัยที่จะส่งผลกระทบต่อสถานภาพของ
สิทธิเสรีภาพหรือหน้าที่ของนักกีฬา สโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ไม่ว่าจะมี
ผลกระทบชั่วคราวหรือผลกระทบอันเป็นการถาวร การใช้อ านาจออกค าสั่งลงโทษขององค์กรก ากับ
กีฬามักอยู่ในรูปแบบของการใช้อ านาจขององค์กรก ากับกีฬาแต่ฝ่ายเดียวอันอาจก่อให้เกิดผลร้าย
ในทางหนึ่งทางใดต่อผู้รับค าสั่งลงโทษ ซึ่งกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬาอาจระบุก าหนดลักษณะ
ของการกระท าหรือไม่กระท าอย่างใดถือว่าเป็นความผิดที่จะต้องได้รับโทษเอาไว้ และก าหนด
บทลงโทษส าหรับนักกีฬา สโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่กระท าการหรือไม่กระท า
การอย่างหนึ่งอย่างใดอันถือเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬา
อย่างไรก็ตามการที่องค์กรก ากับกีฬาจะสร้างก าหนดมาตรฐานการปฏิบัติตนของนักกีฬาหรือ
มาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬาให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านธรรมาภิบาลกีฬานั้น องค์กรก ากับกีฬา
ย่อมต้องอาศัยกฎระเบียบมาเป็นเครื่องมือส าหรับช่วยปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการก ากับ
ธรรมาภิบาลกีฬาว่าด้วยมาตรฐานจริยธรรมนักกีฬาหรือมาตรฐานการละเล่นและจัดการแข่งขันกีฬา
โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาจะเข้ามาผูกพันหรือยอมตนปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือไม่นั้น ต้อง
พิจารณาถึงสถานภาพทางกฎหมายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าวว่ามีความเป็นสมาชิก
19 Phillippa Kaufmann, and Sarah Hannett, Road to Rio: Regulation and Judicial Review in Sport,
(London: Matrix Sport, 2016).