Page 53 - 30423_Fulltext
P. 53
47
อย่างไรก็ตาม รัฐพึงต้องเคารพต่อความเป็นอิสระขององค์กรก ากับกีฬา (Principles on the
25
Independence of the SGBs) ซึ่งหลักการนี้ส่งผลต่อการสร้างธรรมาภิบาลกีฬาเพื่อเป็น
หลักประกันว่าองค์กรก ากับกีฬาจะต้องก ากับควบคุมการละเล่นกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้เป็นธรรม
ภายใต้หลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” อีกทั้งจะต้องด าเนินการก ากับควบคุมธรรมาภิ
บาลกีฬาด้วยความเป็นกลาง โดยปราศจากการกีดกันหรือเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดต่อนักกีฬา
หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ หลักความเป็นอิสระขององค์กรก ากับกีฬาเป็นหลักประกันแก่องค์กร
ก ากับกีฬาในการก ากับวินัยนักกีฬาหรือควบคุมมาตรฐานการแข่งขันกีฬา โดยองค์กรของรัฐหรือ
เอกชนอื่น ๆ จะใช้อิทธิพลหรืออ านาจอย่างหนึ่งอย่างใดเข้ามาแทรกแซงหรือครอบง าการด าเนิน
กิจกรรมขององค์กรก ากับกีฬาไม่ได้ เท่ากับว่าองค์กรก ากับกีฬาพึงมีอิสระในการก ากับกีฬาในแต่ละ
ชนิดกีฬา เว้นแต่รัฐอาจยื่นมือเข้ามาก ากับดูแลองค์กรก ากับกีฬาหรือใช้อ านาจเข้าแทรกแซงเพื่อผดุง
ไว้ซึ่งความเป็นธรรมในแวดวงกีฬาและเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนักกีฬา (ดังที่กล่าวไว้
แล้วในข้างต้น) ในกรณีที่องค์กรก ากับกีฬาใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือกระท าการอย่าง
หนึ่งอย่างใดเกินไปกว่าขอบเขตแห่งอ านาจที่ได้รับตามกฎหมาย (ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายจัดตั้งองค์กร
ก ากับกีฬาหรือกฎหมายให้อ านาจองค์กรก ากับกีฬาจัดท าบริการสาธารณะด้านการกีฬา) รวมทั้งการ
ออกกฎหรือค าสั่งที่ปราศจากกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬามารองรับ
กล่าวโดยสรุป องค์กรก ากับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรก ากับการกีฬาในฐานะที่เป็น
ผู้จัดการแข่งขันกีฬาตามแต่ละประเภทกีฬา ย่อมมีบทบาทส าคัญในการก ากับวินัยนักกีฬาและควบคุม
การแข่งขันกีฬาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานตามกฎระเบียบที่องค์กรก ากับกีฬาได้วางเอาไว้ โดยองค์กรก ากับ
กีฬามีอ านาจออกกฎระเบียบมาก ากับตนเองหรือ “Self-Regulation” อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง
องค์กรก ากับกีฬามักอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบพีระมิดเป็นระบบล าดับชั้นของการปกครอง ควบคุม
และก ากับดูแลที่ถูกก าหนดเอาไว้อย่างเป็นทางการอันเป็นโครงสร้างล าดับชั้นก ากับธรรมาภิบาลตาม
ลักษณะโครงสร้างองค์กรก ากับกีฬาแบบพีระมิดหรือ “Pyramid Structure” โดยที่องค์กรก ากับกีฬา
ล าดับสูงสุดตามแต่ละชนิดกีฬาก็มีอ านาจออกกฎระเบียบมาก ากับควบคุมองค์กรก ากับกีฬาล าดับรอง
ตามชนิดกีฬานั้น ๆ ในขณะเดียวกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรก ากับกีฬาล าดับสูงสุดไปจนถึงองค์กรก ากับ
กีฬาล าดับล่างต่างก็ต้องควบคุมความประพฤติของนักกีฬาสมัครเล่นหรือนักกีฬาอาชีพให้ถูกต้องตาม
หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณแห่งความเป็นนักกีฬาหรือก ากับกีฬาแข่งขันกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา
ให้ได้มาตรฐาน ในการก ากับควบคุมเช่นว่านี้ต้องยึดหลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” เพื่อ
น าไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตามกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬาที่นักกีฬาหรือ
25 Ravi Mehta, “The future of sports governance: Will sport sustain its traditional model of
autonomy?,” sportslawbulletin (2017), Accessed March 7, 2021,
https://www.sportslawbulletin.org/future-sports-governance-will-sport-sustain-its-traditional-
model-autonomy/