Page 55 - 30423_Fulltext
P. 55

49



                       กระบวนการตรวจสอบการใช้อ านาจองค์กรก ากับกีฬาอย่างมีระเบียบแบบแผน พร้อมกับเปิดโอกาส

                       ให้กระบวนการยุติธรรมเข้ามาจัดการกับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างองค์กรก ากับกีฬาด้วยกันเอง
                       หรือองค์กรก ากับกีฬากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา


                              การสร้างธรรมาภิบาลผ่านการจัดท ากฎระเบียบหรือกฎเกณฑ์โดยองค์กรก ากับกีฬา ไม่ว่า
                       องค์กรก ากับกีฬานั้นจะเป็นองค์กรก ากับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรก ากับมาตรฐานการแข่งขัน

                       กีฬา ย่อมอาศัยหลักการปกครองตนเองของกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือในแต่ละการแข่งขันกีฬา

                       (Autonomy of Sport) โดยองค์กรก ากับกีฬามีอิสรภาพ (Independence)  ในการก ากับดูแลชนิด
                                                                                     27
                       กีฬาหรือการแข่งขันกีฬาของตนเอง ทั้งในด้านจริยธรรมและมาตรฐาน แทนที่จะไปยอมตนให้อยู่

                       ภายใต้การควบคุมของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อ านาจของรัฐ

                       เข้าแทรกแซงกิจการกีฬาหรือการแข่งขันกีฬา อีกทั้งหากปล่อยให้รัฐสามารถเข้าแทรกแซงการการ
                       กีฬาได้อย่างสมบูรณ์แล้ว รัฐอาจใช้อ านาจจ ากัดสิทธิเสรีภาพขององค์กรก ากับกีฬาและผู้มีส่วนได้ส่วน

                       เสียในแวดวงกีฬา เหตุนี้เองการส่งเสริมธรรมาภิบาลภายในแวดวงกีฬาจึงด ารงอยู่ควบคู่กับการ

                       ส่งเสริมความเป็นอิสระขององค์กรก ากับกีฬาให้องค์กรก ากับกีฬาในทุกระดับชั้นสามารถก ากับดูแลซึ่ง
                       กันและกันได้ พร้อมกับสร้างกลไกและกระบวนการขึ้นมาเฉพาะในการก ากับดูแลซึ่งกันและกันอย่าง

                       เหมาะสม ภายใต้การก ากับดูแลโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาลกับนิติธรรมอย่างควบคู่กันไป

                              ธรรมาภิบาลกีฬาเป็นค าที่ใช้กันอย่างกว้างขว้างและถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างในการบริหาร

                       จัดการกีฬายุคใหม่ ธรรมาภิบาลกีฬาถูกน ามากล่าวอ้างในนโยบายสาธารณะด้านกีฬาและถูกน าเอามา

                       อ้างอิงในกฎระเบียบทางการกีฬา อันน าไปสู่การสร้างแนวทางการก ากับดูแลกีฬา (ตามแต่ละชนิด
                       กีฬา) หรือควบคุมการแข่งขันกีฬา (ในแต่ละระดับชั้น) ให้มีมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิด

                       ของหลักธรรมาภิบาลมักถูกน ามาอ้างอิงในการสร้างนิติธรรม (Rule of Law) กฎกติกาว่าด้วยกีฬา

                       หรือการแข่งขันกีฬาที่สามารถอ านวยความยุติธรรมในแวดวงกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพกับถูกน ามา
                       อ้างอิงในการใช้อ านาจตามกฎกติกาว่าด้วยกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

                       โดยค านึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา

                              ในปี 2008 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC)

                       ได้จัดท า “เอกสารหลักสากลพื้นฐานว่าด้วยธรรมาภิบาลโอลิมปิกและการขับเคลื่อนกีฬา”หรือ

                       “Basic Universal Principles of Good Governance of the Olympic and Sports Movement
                       ”  โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ก าหนดหลักการพื้นฐานธรรมาภิบาลกีฬาที่สัมพันธ์กับ
                        28




                       27  Jean-Loup Chappelet, Autonomy of sport in Europe (Strasbourg: Council of Europe Publishing,
                       2010).

                       28  International Olympic Committee, “Basic Universal Principles of Good Governance of the
                       Olympic and Sports Movement,” 2008, Accessed March 7, 2021,
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60