Page 54 - 30423_Fulltext
P. 54

48



                       ผู้จัดการแข่งขันกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา พึงต้องเคารพปฏิบัติตาม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะ

                       เด่นหรือเป็นเอกลักษณ์ของการจัดองค์กรก ากับกีฬาตามหลักการสากล



                       2.3 ธรรมาภิบาลกีฬา


                              หลักเกณฑ์และกลไกของกฎหมายกีฬาได้ให้ความส าคัญกับการสร้างธรรมาภิบาล (Good

                       Governance) เป็นอย่างมาก โดยองค์กรก ากับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาและองค์กรก ากับกีฬาในฐานะ

                       ผู้จัดการแข่งขันกีฬามีภารกิจส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในแวดวงกีฬาและวางมาตรฐาน
                       ด าเนินกิจกรรมการกีฬาให้เป็นไปตามกฎระเบียบเกี่ยวกับธรรมาภิบาลกีฬา การที่องค์กรก ากับกีฬา

                       ด าเนินกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในวงการกีฬาย่อมถือเป็นการยกระดับกีฬาและ

                                                                  26
                       การกีฬาให้น าไปสู่การแก้ปัญหาภายในวงการกีฬา  เช่น ปัญหาจากการขาดความโปร่งใสในการ
                       ด าเนินงาน ปัญหาการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในการแข่งขันกีฬาและปัญหาทุจริตคอรัปชั่นใน

                       วงการกีฬา เป็นต้น

                              การบริหารองค์กรก ากับกีฬาอย่างสากลจึงต้องอาศัยหลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลมา

                       เป็นเครื่องมือส าคัญในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลกีฬา (Sports Governance) ซึ่งหลักการบริหาร

                       ตามหลักธรรมาภิบาลถือเป็นเครื่องมือส าคัญที่จะช่วยสร้างธรรมาภิบาลกีฬาใน 2 แนวทางด้วยกัน
                       ได้แก่ (ก) องค์กรก ากับกีฬาต้องก ากับภายในองค์กรของตนเองด้วยการด าเนินกิจกรรมและการบริหาร

                       ตามกลไกการท างานของคณะกรรมการบริหาร (ก ากับวินัยนักกีฬาหรือเพื่อควบคุมการแข่งขันกีฬาให้

                       เป็นไปตามมาตรฐานสากล) และเจ้าหน้าที่ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดธรรมาภิบาลในองค์กรอย่างเป็นมี
                       ระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนและสร้างความเชื่อมั่นต่อนักกีฬาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาว่าจะ

                       ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ และ (ข) องค์กรก ากับกีฬาต้องก ากับ

                       ดูแลองค์กรก ากับกีฬาล าดับรองลงมา (ภายใต้โครงสร้างองค์กรก ากับกีฬาแบบพีระมิดหรือ “Pyramid
                       Structure”) โดยก าหนดให้มีกระบวนการควบคุมตรวจสอบองค์กรก ากับกีฬาที่อยู่ภายใต้การ

                       ปกครองและก าหนดมาตรฐานการบริหารงานองค์กรก ากับกีฬาล าดับรองลงมา ให้บรรลุเป้าหมายการ

                       ของสนับสนุนธรรมาภิบาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือในระบบการแข่งขันกีฬา เหตุนี้เององค์กรก ากับ
                       กีฬาได้น าเอาหลักธรรมาภิบาลมาก าหนดเอาไว้ในเจตนารมณ์ของกฎระเบียบว่าด้วยการก ากับวินัย

                       หรือควบคุมมาตรฐานการแข่งขันกีฬา อันน าไปสู่การสร้างกฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน

                       เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในแวดวงกีฬา พร้อมกับน าไปใช้ในแวดวงกีฬาอย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้งจัดให้มี



                       26  European Commission, “Expert Group “Good Governance” Deliverable 2 Principles of good
                       governance in sport,” September 2013, Accessed March 7, 2021,

                       https://ec.europa.eu/assets/eac/sport/library/policy_documents/xg-gg-201307-dlvrbl2-
                       sept2013.pdf.
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59