Page 43 - 30423_Fulltext
P. 43

37



                              กฎหมายของพ่อค้าวาณิชย์หรือที่เรียกในภาษาละตินว่า “Lex Mercatoria” เป็นข้อตกลง

                       หรือแนวปฏิบัติร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมกีฬาที่ก าหนดแนวปฏิบัติทางธุรกิจในธุรกิจ
                       อุตสาหกรรมกีฬาเอาไว้ เหตุที่มีการตกลงและยอมรับนับถือข้อตกลงที่เป็นแนวปฏิบัติทางการค้าเช่น

                       ว่านี้ ก็เพื่อต้องการลดความขัดแย้งระหว่างภาคธุรกิจกีฬา ต่อมาข้อตกลงหรือแนวปฏิบัติเช่นว่านี้ได้ถูก

                       พัฒนาให้กลายมาเป็นกฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) เอาไว้เป็นลายลักษณ์
                       อักษรและได้น าเอากฎระเบียบดังกล่าวมาบังคับใช้กับองค์กรก ากับกีฬาที่อยู่ในล าดับชั้นถัดลงมาและ

                       องค์กรก ากับกีฬาที่อยู่ภายใต้ก ากับ รวมทั้งน ามาใช้บังคับกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา (ตามแต่

                       ละชนิดกีฬา)

                              ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายกีฬาหรือ “Lex Sportiva” กฎกติกากีฬาสากลหรือ “Lex Ludica”

                                                                                               14
                       และกฎหมายของพ่อค้าวาณิชย์หรือ “Lex Mercatoria” ย่อมมีข้อแตกต่างกันดังต่อไปนี้
                              ในส่วนของกฎหมายกีฬาหรือ “Lex Sportiva” และกฎกติกากีฬาสากลหรือ “Lex Ludica”

                       นั้น ย่อมมีความแตกต่างกัน นั้นก็คือกฎหมายกีฬาหรือ “Lex Sportiva” ถือเป็นการน าเอากฎหมาย
                       มาปรับใช้ให้เข้ากับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกีฬาหรือข้อพิพาททางการกีฬา ผ่านการน ากฎหมายลายลักษณ์

                       อักษรหรือกฎหมายจารีตประเพณีมาปรับใช้หรือปรับเข้ากับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกีฬาหรือการกีฬา นั้น

                       หมายความว่านักกฎหมายอาจต้องแสวงหาบทบัญญัติกฎหมายและอธิบายถ้อยค าเนื้อความที่ปรากฎ
                       ในบทบัญญัติกฎหมาย เพื่อที่จะน ากฎหมายนั้นไปปรับใช้แก่กรณีทางกีฬาหรือการกีฬาได้อย่างถูกต้อง

                       ตรงธรรมาภิบาลและสอดคล้องกับความเป็นธรรม หากมีข้อสงสัยเกิดขึ้นในถ้อยค าเนื้อความที่ปรากฎ

                       ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็ต้องมีการตีความเพื่อน าไปสู่การปรับใช้กับข้อเท็จจริงทางกีฬาหรือการ
                       กีฬาที่เกิดขึ้น โดยผู้ตีความกฎหมายต้องค านึงถึงตัวบทกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปใน

                       คราวเดียวกัน สถาบันตุลาการ (เช่น ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ) และสถาบัน

                       อนุญาโตตุลาการ (เช่น องค์กรระงับข้อพิพาททางเลือก) อาจใช้นิติวิธีในทางกฎหมายมาวินิจฉัย
                       ตีความกฎหมายเพื่อแสวงหาความหมายของกฎหมายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลใน

                       ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกีฬาหรือข้อพิพาททางการกีฬา ในทางตรงกันข้ามกฎกติกากีฬาสากลหรือ “Lex

                       Ludica” ถือเป็นกฎกติกากีฬาของแต่ละชนิดกีฬาที่องค์กรกีฬาและนักกีฬาทั่วโลกต้องยอมรับนับถือ
                       และมีผลบังคับอย่างเป็นสากล สถาบันตุลาการไม่สามารถใช้อ านาจตุลาการเข้าแทรกแซงเพื่อ

                       ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ของกฎกติกากีฬาสากลได้และสถาบันตุลาการก็ไม่อาจใช้อ านาจตุลาการ

                       ก าหนดกฎกติกากีฬาสากลขึ้นมาใหม่ โดยอ านาจในการบัญญัติหรือก าหนดกฎกติกากีฬาสากลถือเป็น
                       อ านาจขององค์กรก ากับกีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) โดยแท้





                       14  Alfonso Valero, “In search of a working notion of lex sportiva,” The international sports law

                       journal 14, no.1 (2014): 3-11, Accessed March 7, 2021,
                       http://irep.ntu.ac.uk/id/eprint/21420/1/218313_1342.pdf.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48