Page 46 - 30423_Fulltext
P. 46

40



                       รวมทั้งการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยย่อมเป็นคุณธรรมของการละเล่นกีฬาหรือการแข่งขันที่เป็นธรรมอย่าง

                       หนึ่งที่ถูกเรียกว่าความมีน ้าใจนักกีฬา (Sportsmanship) นักกีฬาสมัครเล่นและนักกีฬาอาชีพพึงต้อง
                       ระลึกเสมอและท าความเข้าใจว่าการละเล่นกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาต้องเป็นไปด้วยความเคารพต่อผู้

                       เล่นฝ่ายตรงข้ามและความซื่อสัตย์ต่อคู่แข่งขัน ไม่กระท าการฝ่าฝืนกฎกติกาการแข่งขันกีฬาและไม่

                       กระท าการอันละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง (กฎหมายกีฬา) ที่ก าหนดลักษณะของการกระท าหรือไม่
                       กระท าอย่างใดเกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาที่กฎหมายบ้านเมืองถือว่าเป็นความผิด

                       และได้ก าหนดบทลงโทษส าหรับผู้กระท าการอันละเมิดกฎหมายบ้านเมือง (กฎหมายกีฬา) เอาไว้

                              หลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” ถือเป็นหัวใจส าคัญของกีฬาและการกีฬา

                       หลักการนี้ได้ถูกน ามาผนวกหรือน ามาแฝงไว้กับมาตรฐานสากลในเรื่องกีฬาและการแข่งขันกีฬา

                       ท านองเดียวกันหลักการนี้ได้ถูกรณรงค์และสร้างความตระหนักให้กลายมาเป็นจุดร่วมหลักอัน
                       ก่อให้เกิดธรรมาภิบาลในวงการกีฬา สะท้อนได้จากการที่นโยบายสาธารณะด้านกีฬาและกฎหมาย

                       กีฬาของต่างประเทศและประเทศไทยได้พยายามน าเอาหลักเกณฑ์ มาตรการและกลไกส าคัญหลาย

                       ประการ มาก าหนดเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬา ทั้ง
                       สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ทรัพย์สิน หรือเสรีภาพอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นนักกีฬา ในท านองเดียวกันหลัก

                       ดังกล่าวก็ถูกองค์กรก ากับกีฬาใช้เป็นเครื่องมือส าคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการแข่งขันกีฬาที่

                       เป็นธรรมและใช้เป็นเครื่องมือก ากับธรรมาภิบาลการปกครองควบคุมการแข่งขันกีฬาให้ได้
                       มาตรฐานสากล ความพยายามในการรับรองหลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” มีอยู่

                       เรื่อยมาควบคู่กับสังคมกีฬา เนื่องจากผู้ก าหนดนโยบายกีฬา (Sports Policy Makers) และผู้จัดท า

                       กฎหมาย (Lawmakers) มักหยิบยกหลักการดังกล่าวมาเป็นปรัชญาของกติกาและจรรยาบรรณในการ
                       อยู่ร่วมกันในสังคมกีฬา ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาย่อมต้องรู้จักรักษาจิตวิญญาณของนักกีฬา

                       (Spirit of Sportsmanship) ไปพร้อมกับตระหนักว่านักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต้องละเล่นกีฬา

                       หรือจัดการแข่งขันกีฬาอันค านึงถึงเกมการแข่งขันที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยปราศจากกฎกติกาในเชิง
                       กีดกันหรือเลือกปฏิบัติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะเดียวกันผู้จัดท ากฎหมายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ

                       ก็ดีหรือฝ่ายบริหารกิจการกีฬาก็ตามก็มักจะน าเอาหยิบยกเอาหลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair

                       Play” มาเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายกีฬาที่มีหน้าที่ก ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวด
                                                    17
                       วงกีฬาหรือควบคุมการแข่งขันกีฬา  โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบการแข่งขันกีฬาให้ได้มาตรฐาน
                       และก ากับดูแลนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬารายอื่น ๆ ให้ร่วมในการกีฬาด้วยน ้าใจ

                       นักกีฬา ไม่กระท าการอันล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพต่อนักกีฬารายอื่นหรือกระท าการอันแสวงหา
                       ประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬารายอื่น ๆ เพื่อให้นักกีฬาและ



                       17  David Bayard, “After Further Review: How the N.C.A.A.’s Division IShould Implement Name,

                       Image, and Likeness Rights to Save Themselves and Best Preserve the Integrity of College
                       Athletics,” Southern University Law Review, Forthcoming, 2020.
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51