Page 35 - b29420_Fulltext
P. 35
เพราะอาจไม่ได้ส่งเสริมในเชิงเสริมอำนาจให้แก่ประชาชนเท่านั้น แต่อาจฉุดรั้งการตัดสินใจบางเรื่องของคนใน
ชุมชนไปพร้อมกัน
ด้าน Richard A. Smith (1995) ได้ทำการศึกษาไปที่รัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกากับกิจกรรม
ล็อบบี้ หรือ การวิ่งเต้น (lobbying activities) ของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จากการทบทวนงานวิจัยหลายชิ้นที่
ศึกษาเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ชี้ให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์กับการ
ตัดสินใจลงคะแนนเสียงของสมาชิกสภาคองเกรส ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Scott R. Furlong and
Cornelius M. Kerwin. (2004) ที่กล่าวไปในทำนองเดียวกันว่าในปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากลุ่มผลประโยชน์
มีบทบาทในระบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการกำหนดนโยบายที่ยังเห็นถึง
ความพยายามขององค์กรต่างๆในการเข้าไปมีส่วนโน้มน้าวนโยบายสาธารณะในหลายระดับ อย่างไรก็ตาม
Richard A. Smith ตั้งข้อสังเกตุว่าการส่งอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ในที่นี้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่การ
เปลี่ยนทัศนคติแต่เป็นการลดความเฉียบขาดลงไป ทั้งนี้เพราะรูปแบบการวิ่งเต้น (lobbying) โดยทั่วไปจะมี
ระยะเวลาสั้นจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติได้ เพราะการที่จะเปลี่ยนทัศนคตินั้นจะต้องใช้เวลาหรือมี
เหตุการณ์พลิกผันและมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการโน้มน้าวใจ ดังนั้น ข้อพึงระวังคืออิทธิพลของกลุ่ม
ผลประโยชน์นั้นจึงเปราะบางหรือไม่เสถียร ตำแหน่งของสมาชิกอาจมีการเปลี่ยนแปลง และอิทธิพลของกลุ่ม
ผลประโยชน์อาจหายไปเมื่อใดก็ได้
Reeve, A., & Ware, A. (1983) ได้อธิบายการทำงานของอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อการเลือกตัดสินใจไว้
ว่าแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีเหตุมีผล (rational) การที่มนุษย์จะตัดสินเลือกหรือไม่เลือกนโยบาย
ใดแน่นอนว่าส่วนสำคัญคือนโยบายนั้นจะต้องสอดคล้องกับผลประโยชน์ของเขา อย่างไรก็ตาม กลุ่มทาง
การเมืองก็อาจมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกได้เช่นกัน เพราะผลประโยชน์ของมุนษย์นั้นมีทั้ง
ผลประโยชน์ส่วนตัว (individual interest) และผลประโยชน์ส่วนรวม (collective interest) การส่งอิทธิพล
ของกลุ่มในที่นี้ไม่ใช่การที่กลุ่มบังคับหรือการทำให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติความเชื่อแต่เป็นการที่กลุ่มสามารถ
ขยายความรู้สึกถึงผลประโยชน์บางอย่างหรือทำให้ให้ผลประโยชน์บางอยางเข้มข้นหรือลดลงได้ กล่าวได้ว่า
เป็นการต่อรองที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ว่า ‘ผลประโยชน์ของ A ได้รับการส่งเสริม’ ขณะที่ ‘ผลประโยชน์ของ B
ได้รับการปกป้อง’ มันจึงเป็นการเชื่อมต่อทางอ้อมระหว่างความต้องการและความสนใจ
Reeve, A., & Ware, A. ชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจของบุคคลนั้นจะลบล้างได้ก็ต่อเมื่อเกิดการ
เปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต หรือการขาดความทรงจำที่ถูกต้องในอดีต เมื่ออยู่ในภาวะเช่นนั้นบุคคลจะถูกทำให้เป็น
อิสระจากกิจกรรมโดยเจตนาของพวกเขาได้ง่าย หรือก็คือถูกชักชวนให้เชื่อหรือโน้มเอียงต่อการเปลี่ยนใจได้
ง่าย บุคคลนั้นอาจถูกจับเข้าสังคมเพื่อให้ยอมรับชีวิตบางประเภทได้ง่ายกว่า เมื่ออยู่ในสภาวะเช่นนี้บุคคลก็จะมี
ความสุ่มเสี่ยงตกเป็นเหยื่อของสถาบันใดสถาบันหนึ่งได้ กล่าวโดยสรุปเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจของ
ผู้คนก็คือ 1) ประสบการณ์ (Experience) ในที่นี้คือ การโน้มน้าวจะประสบความสำเร็จ ก็ต้องดูว่าผู้คนมี
ประสบการณ์แบบใดในอดีต 2) ข้อมูล (information) ในที่นี้คือกลุ่มผลประโยชน์มอบข้อมูลแบบใดให้กับผู้คน
25