Page 34 - b29420_Fulltext
P. 34

รวมไปถึงการประเมินผลได้ผลเสียที่จะตามมา ปัจจัยเหล่านี้จะจำกัดชุดของการดำเนินการที่เป็นไปได้ แนวคิด

               หลักของทฤษฎีนี้สามารถสืบย้อนไปถึงงานเขียนของนักปรัชญาด้านศีลธรรม เช่น Adam Smith ซึ่งได้พัฒนา

               แนวคิดเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกขึ้นมาและกลายเป็นฐานคิดให้กับทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผลในยุคแรก

               ที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานเช่นเดียวกันกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก ประกอบด้วยความเชื่อตั้งต้นที่ว่า 1)

               ปัจเจกบุคคลมีความเห็นแก่ตัว 2) มนุษย์จะพยายามแสวงหาประโยชน์สูงสุดให้กับตนเอง และ 3) มนุษย์

               สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระโดยยึดตามข้อมูลทั้งหมด กล่าวคือแนวคิดนี้เชื่อว่า บุคคลจะได้รับข้อมูลอย่าง
               ครบถ้วนเกี่ยวกับทางเลือกในการตัดสินใจ ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์และผลที่ตามมา แนวคิดนี้เชื่อว่าไม่มี

               ข้อจำกัดด้านความรู้ความเข้าใจในการรับรู้หรือการประมวลผลข้อมูล บุคคลจึงตัดสินใจบนพื้นฐานของต้นทุน

               และผลประโยชน์การคำนวณและเลือกทางเลือกที่สร้างประโยชน์ (utility) ตามที่คาดหวังสูงสุดได้


                       แนวคิดนี้ต่อมาถูกเรียกว่า ‘Thin version’ เนื่องจากมีหลายข้อที่นำไปสู่การถกเถียงอาทิ มนุษย์จะมี

               เหตุผลได้ตลอดเวลาหรือไม่ มนุษย์เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นจริงหรือไม่ และมนุษย์มีข้อมูลสมบูรณ์ใน
               การตัดสินใจเลือกทุกครั้งจริงหรือไม่ Herbert Simon (1957) เป็นคนแรกๆที่ออกมาแย้งว่าควรผ่อนคลายการ

               อธิบายแบบ thin version ลงไป และเสนอว่าสิ่งที่มนุษย์ตัดสินใจเลือกบางครั้งไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดแต่เป็น

               ทางเลือกที่สามารถยอมรับในเวลานั้นมากที่สุดมากกว่า ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงข้อมูลและ

               ไม่ได้ใช้เหตุผลตลอดเวลา ต่อมา Siegwart Lindenberg ได้เสนอทฤษฎีการเลือกแบบมีเหตุผลแบบ ‘thick

               version’ โดยแนวคิดนี้ไม่ได้มองว่ามนุษย์เห็นแก่ตัวเท่านั้น แต่สันนิษฐานว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคลอาจมี

               แรงจูงใจจากความชอบทางสังคมอยู่ด้วย นั่นคือพวกเขามีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของผู้อื่นเช่นกัน ดังนั้น
               ผลประโยชน์ที่บุคคลมุ่งมั่นจึงไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงผลประโยชน์ทางวัตถุเฉพาะประโยชน์ส่วนตนแต่อาจเป็น

               เรื่องของจิตใจหรือสังคมได้ด้วยเช่นกัน


                       กลุ่มผลประโยชน์ (interest group) เป็นรูปธรรมหนึ่งของแนวคิดเรื่องผลประโยชน์และการเลือก

               อย่างมีเหตุผล เพราะภายใต้กลุ่มที่มีมากกว่า 2 คนขึ้นไป ย่อมมีอิทธิพลส่งผลต่อความคิดของผู้คนในกลุ่มนั้น ๆ

               ด้วย ภายใต้การอยู่ร่วมกันนั้นย่อมนำมาซึ่งวัฒนธรรมและข้อตกลงบางอย่างซึ่งผู้คนในกลุ่มจะต้องปฏิบัติตาม

               ในที่นี้ผู้วิจัยมองว่าแนวคิดเรื่องกลุ่มสามารถนำมาปรับใช้ในฐานะเงื่อนไขประการหนึ่งเพื่ออธิบายว่ากลุ่มและ
               เครือข่ายภายกลุ่มนั้นมีผลต่อการตัดสินใจเลือกหรือไม่ดำเนินโครงการนี้หรือไม่ เพราะการตัดสินใจที่สอดคล้อง

               กับค่านิยมของกลุ่มย่อมส่งผลต่อการอยู่รอดภายในกลุ่มและเป็นผลประโยชน์มากกว่าที่จะเลือกตัดสินใจให้

               แตกต่างออกไปจากค่านิยมของกลุ่ม การเลือกตั้งในระดับท้องที่และท้องถิ่นเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่ต้อง

               ดำเนินการไปภายใต้อิทธิพลของกลุ่มและเครือข่ายในกลุ่ม ซึ่งอาจส่งผลต่อผลประโยชน์ของผู้คนทั้งด้านการอยู่

               ร่วมกันอย่างเป็นสุข ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านนโยบายและด้านการเมือง (ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล,
               2553) ดังนั้น กลุ่มและเครือข่ายในที่นี้อาจเป็นไปได้ทั้งเงื่อนไขที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการดำเนินโครงการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง แม้ว่าในแง่หนึ่งเครือข่ายจะถูกวิเคราะห์ในแง่ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อ

               พื้นที่ประชาสังคมและเสริมพลังประชาชนแต่ในอีกแง่หนึ่งการมีเครือข่ายในชุมชนอาจให้ผลที่แตกต่างออกไป



                                                                                                       24
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39