Page 38 - b29420_Fulltext
P. 38

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (2555) นักวิชาการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการศึกษาสำหรับ

               สร้างสำนึกพลเมืองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องสร้าง เพราะสำนึกความเป็นพลเมืองไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

               แต่ว่าเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน อย่างไรก็ตาม การศึกษาสำหรับพลเมืองไม่ใช่การศึกษาโดยทั่วไปแต่เป็น

               การศึกษาที่ต้องเปิดโอกาสให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้คุณค่าประชาธิปไตยในมิติต่างๆผ่านการลงมือปฏิบัติ

               ยกตัวอย่างเช่น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์และปัญหาต่างๆที่พบเจอในชีวิตประจำวันมาร่วมกัน

               วิเคราะห์ถึงต้นเหตุแห่งปัญหา เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนลงมือแก้ไขปัญหาเหล่านั้นด้วย
               ตนเอง


                       ด้านทิพย์พาพร ตันติสุนทร (2556) ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษา กล่าวถึงการศึกษาสำหรับ

               พลเมืองไปในทิศทางเดียวกันว่าการศึกษาเพื่อสร้างสำนึกพลเมืองเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ

               การพัฒนาคนในสังคมให้มีวิถีประชาธิปไตย และมีคุณลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ

               พวกเขาต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เป็นผู้ที่ยึดหลักประชาธิปไตยสากลในการดำเนินชีวิตและในการจัดการกับ
               ปัญหาต่างๆ พวกเขาต้องเรียนรู้ที่จะเป็นพลเมืองที่เป็นทั้งผู้ที่เคารพต่อกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเอง

               และผู้อื่น ไปพร้อมๆกับสามารถที่จะเป็นกำลังให้แก่บ้านเมืองโดยเข้ามามีส่วนร่วมเสียสละทำเพื่อส่วนร่วมตาม

               ช่องทางและวาระที่เหมาะสมได้เพื่อสาธารณะประโยชน์


                       กล่าวได้ว่าความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรม ขณะที่ ความรู้นั้นก็มีความสัมพันธ์กับการ

               จัดการศึกษาเพื่อสร้างสำนึกพลเมือง การเลือกตั้งที่ดีที่เป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมก็ไม่อาจปฏิเสธเรื่องของการ

               สร้างความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองก็ไม่อาจ
               เริ่มต้นและสิ้นสุดลงในห้องเรียน การศึกษาในห้องเรียนไม่เพียงพอที่จะส่งเสริมการศึกษาสำหรับพลเมืองที่มี

               ความกระตือรือร้นเป็นกำลังให้แก่บ้านเมืองได้ ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการหลายฝ่ายจึงเสนอให้มีการส่งเสริมการ

               เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ โดยปรับสภาพแวดล้อม (environment) ให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของแก่

               ผู้เรียนไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรมและไม่สับสนระหว่างสิ่งที่

               ได้เรียนรู้ในห้องเรียนกับสิ่งที่พบในทางปฏิบัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะท้อใจและถดถอยในการมีส่วนร่วม

               ทางการเมืองในระยะยาว

                       ดังกรณีที่ เดวิด แมทธิวส์ (2552) ได้ชี้ให้เห็นว่าความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ

               ผู้คนไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการส่งเสริมการศึกษาเพียงอย่างเดียว เขาเสนอว่าสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการศึกษาคือการ

               เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้แสดงออก ได้นำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติและได้เข้าไปมีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมตัดสินใจร่วม

               รับผิดและรับชอบด้วยตัวของพวกเขาเองอย่างแท้จริง โดยเวทีสาธารณะเหล่านั้นจะต้องเป็นเวทีที่มีความเป็น

               กลางทางการเมืองเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยรับฟังข้อเสนออย่างตั้งใจ และโดยที่ข้อเสนอเหล่านั้นควรได้รับ

               การตอบสนองจากสังคมและหน่วยงานที่มีอำนาจในสังคมตามสมควร ไม่เช่นนั้นแม้จะมีการส่งเสริมการศึกษา
               สำหรับพลเมืองไปมากเท่าใด แต่หากปราศจากพื้นที่ในการแสดงออกในการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง สุดท้าย

               ความเฉื่อยชาทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นและนำไปสู่วงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่นำประชาธิปไตยไปสู่ปากเหว


                                                                                                       28
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43