Page 39 - b29420_Fulltext
P. 39

กล่าวโดยสรุปได้ว่าการศึกษาสำหรับพลเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตย

               ซึ่งแน่นอนว่ารวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพของการเลือกตั้งด้วย กล่าวคือในที่นี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งพึงมีองค์ความรู้ที่

               สำคัญจำเป็นเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ดี อาทิ เข้าใจความสำคัญของประชาธิปไตย ความสัมพันธ์

               ระหว่างการเลือกตั้งกับการพัฒนาประชาธิปไตย โทษของการทุจริตเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมทางการเมืองใน

               กระบวนการเลือกตั้ง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มีคุณภาพจึงต้องเริ่มต้นจากการส่งเสริมความรู้

               ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและบทบาทของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งแรก
               โดยพร้อมกันนี้ก็ต้องเปิดโอกาสสร้างพื้นที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน เพื่อสร้างให้องค์ความรู้เหล่านั้น

               ตกผลึกเป็นสำนึกพลเมืองอันเป็นคุณสมบัติที่พึงปรารถนาของพลเมืองในประชาธิปไตยต่อไป อันจะส่งผล

               กระทบต่อกิจกรรมต่างๆตามระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพไม่เฉพาะแค่การเลือกตั้ง


               กรอบการศึกษาวิจัย


                       จากวรรณกรรมที่สำรวจข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีเงื่อนไขปัจจัยหลายด้านที่เกี่ยวพันกับการส่งเสริมให้การ
               เลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ วัฒนธรรม เครือข่ายและผลประโยชน์ทางด้าน

               เศรษฐกิจการเมือง ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่อย่างไรในระดับใดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาตัวแปรต่างๆประกอบกัน

               ดังนี้


                   1)  แกนนำ : ในที่นี้คือการศึกษาบทบาทของแกนนำระดับโครงการ ผู้ซึ่งนำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์
                       และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการในพื้นที่ ว่ามีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ

                       สิทธิขายเสียงเช่นใดบ้าง ทั้งในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ องค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอด กระบวนการ

                       สร้างความตระหนัก กิจกรรมต่างๆที่แกนนำดำเนินการเพื่อปรับพฤติกรรมในการเลือกตั้งให้มีคุณภาพ
                       และกิจกรรมต่างๆภายหลังการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความต่อเนื่องของโครงการ

                   2)  องค์ความรู้ : ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมต่อการเลือกตั้ง
                       สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นอย่างไร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้ง

                       ที่ดีกับคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดจนบทบทของพลเมืองในช่วงของการเลือกตั้งหรือไม่เพียงใด

                   3)  กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของแกนนำพลเมือง : ซึ่งในที่นี้
                       หมายถึง ขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆที่แกนนำในพื้นที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์

                       และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง มีการถ่ายทอดเนื้อหาอะไรผ่านรูปแบบกิจกรรมวิธีการใดกับคนกลุ่มใด มีการ

                       ติดตามผลักดันกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหรือไม่อย่างไร
                   4)  วัฒนธรรม : ในที่นี้หมายถึง ทัศนคติและวิถีปฏิบัติของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งในช่วงของการหา

                       เสียงเลือกตั้งว่าผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีการรับรู้เรื่องการจ่ายแจกทรัพย์สินเงินทองเพื่อแลกกับ
                       คะแนนเสียงอย่างไร มีความเชื่อวัฒนธรรมหรือวิถีปฏิบัติในชุมชนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนให้

                       มีการมอบของขวัญหรือไม่ รวมไปถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีมุมมองว่าการรับเงินแล้วไม่เลือกว่าผิดบาป

                       หรือไม่ วัฒนธรรมอุปถัมภ์การพึ่งพากันและเครือญาติมีบทบาทต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครหรือไม่


                                                                                                       29
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44