Page 36 - b29420_Fulltext
P. 36
เป็นข้อมูลที่ส่งเสริมประโยชน์ของเขาเพียงใด หรือเป็นข้อจำกัดที่เขาปฏิเสธไม่ได้ 3) ต้นทุน (Impose high
cost) ในที่นี้คือการที่กลุ่มผลประโยชน์แสดงออกว่าผู้นั้นอาจจะต้องมีต้นทุนต้องเสียเพียงใดหากไม่ยอมรับ
ข้อเสนอ และ 4) ความเสี่ยง (Real level of risk) หมายถึงการที่กลุ่มผลประโยชน์ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะ
ตามมาจากการตัดสินใจของคนผู้นั้น
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากความคิดที่
สลับซับซ้อนและหนึ่งในบรรดาทฤษฎีมากมายที่ให้ความสำคัญกับเงื่อนไขในการตัดสินใจอย่างหนึ่งก็คือทฤษฎี
การเลือกอย่างมีเหตุผล หลายครั้งที่มนุษย์ตัดสินใจเลือกแต่กลับถูกมองว่าไม่มีเหตุผลทั้งที่แท้จริงแล้วการ
ตัดสินใจของพวกเขาในครั้งนั้นอาจเป็นสิ่งที่ได้รับการประเมินแล้วว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของพวกเขาดังที่
Hendra Try Ardianto (2021) ได้ชี้ให้เห็นว่าการยินยอมขายเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนหนึ่งถูกมองว่าเป็น
บุญคุณ หากพิจารณาจากมุมมองด้านผลประโยชน์การตอบแทนบุญคุณอาจเป็นผลประโยชน์ที่ผู้นั้นยึดถือและ
ยอมรับ ขณะที่ Michael Bratton (2008) มองว่าการยินดีขายเสียงส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนไม่ตระหนักถึง
ศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงการยินดีขายเสียงเพื่อแลกกับเงินเพียงเล็กน้อยที่จับต้องได้อาจเป็นสิ่งที่
ดีกว่าการเลือกผู้แทนที่เมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไปพวกเขาอาจจะแทบไม่ได้จับต้องผลประโยชน์ใดที่เป็น
รูปธรรมเลย เป็นต้น ดังนั้น ผลประโยชน์จึงมีหลายประเภทไม่จำเพาะแค่เงิน แต่ยังมีเรื่องของความสัมพันธ์
ความรักและการตอบสนองความต้องการทางจิตใจ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยเลือกนำแนวคิดผลประโยชน์และกลุ่ม
ผลประโยชน์มาอธิบายไว้ด้วย เพื่อนำมาใช้อธิบายร่วมกันกับกระบวนการขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์และ
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในฐานะเงื่อนไขปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการดำเนินโครงการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
แนวคิดเรื่องการศึกษาสำหรับพลเมือง (civic education)
การศึกษาสำหรับพลเมืองเป็นแนวคิดที่กำลังได้รับความสนใจศึกษาพัฒนาเนื่องจากการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากการมีความรู้ความเข้าใจความสำคัญและความสัมพันธ์
ระหว่างการมีส่วนร่วมกับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงส่วน
หนึ่งเกิดขึ้นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้งที่จะ
มีผลต่อประโยชน์ในระยะยาว อีกทั้งไม่ทราบว่าพวกเขาจะมีช่องทางใดและสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการ
เมืองในกระบวนการเลือกตั้งได้เช่นใดบ้างนอกเหนือจากการรับฟังการปราศรัยของผู้สมัครในการหาเสียง
ความไม่รู้นั้นส่งผลต่อการเลือกตั้งที่ไม่มีคุณภาพ และการเลือกตั้งที่ไร้ประสิทธิภาพก็จะนำพามาซึ่งความเบื่อ
หน่ายทางการเมือง และความเบื่อหน่ายทางการเมืองก็จะกลับกลายมาเป็นเครื่องเสริมแรงให้การเลือกตั้งถูก
บิดเบือนเจตนารมณ์ไปกลายเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีประสิทธิภาพที่จะส่งผลการเป็นวงจรของการเมืองที่ไร้
คุณภาพ ดังที่ เดวิด แมทธิวส์ (2552) ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวไว้ในงานของเขาโดยยกตัวอย่างของประเทศ
สหรัฐอเมริกาที่ผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการเมืองสืบเนื่องจากผู้แทนที่พวกเขาเลือกไปเริ่มห่างหายไปและไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างแท้จริง
26