Page 33 - b29420_Fulltext
P. 33
ของไทยที่มีลักษณะอำนาจนิยม ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้สังคมแบบอุปถัมภ์ดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะชื่น
ชอบนโยบายหาเสียงที่มีแนวโน้มเป็นประชานิยม และยอมจำนนต่อผู้มีอิทธิพลไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลที่มาจาก
อำนาจทางการเมือง อำนาจฐานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะภาพทางสังคม ซึ่งความสัมพันธ์เช่นนี้ส่งผลต่อ
ปัจจัยด้านการแทรกแซงทางการเมืองของกลุ่มทุนที่กำลังเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นในสังคมไทย
อันเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนทางการเมืองของกลุ่มเอกชนที่จับมือกันกับภาครัฐ ขณะที่ภาคประชา
สังคมก็อ่อนแอ ทำให้กลไกการตรวจสอบทำงานไม่ได้ผล ผู้คนไม่ถือเป็นธุระไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ
ทั้งยังเกรงกลัวต่ออำนาจและอิทธิพล เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมไทยที่ไม่สนับสนุนต่อการ
พัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
ดังนั้น การทำความเข้าใจวัฒนธรรมทางการเมืองจึงมีความสำคัญที่จะช่วยในการทำความเข้าใจ
พฤติกรรมการเลือกตั้งที่ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากวัฒนธรรมทางการเมืองได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งภายในวัฒนธรรมนั้น
อาจมีทั้งส่วนที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งควรได้รับการแยกแยะปรับปรุงและ
เปลี่ยนแปลงในส่วนของวัฒนธรรมบางประการเพื่อให้การส่งเสริมการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเกิดขึ้นได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
แนวคิดเรื่องผลประโยชน์และกลุ่มผลประโยชน์ (interest and interest group)
แนวคิดเรื่องผลประโยชน์และกลุ่มผลประโยชน์เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ผู้วิจัยมองว่าจะส่งผลต่อ
พฤติกรรมทางการเมืองรวมไปถึงพฤติกรรมในการเลือกตั้ง ซึ่งแนวคิดเรื่องผลประโยชน์นี้เป็นการพัฒนาขึ้นมา
จากแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุมีผลในการตัดสินใจและมักจะสามารถเลือกสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับตนเองได้เสนอ โดยต่อมารัฐศาสตร์ได้รับแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้เป็นทฤษฎีการ
เลือกแบบมีเหตุมีผล (rational theory) แนวคิดนี้เสนอว่ามนุษย์จะมีการเลือกอย่างมีเหตุผล มนุษย์จะมีการ
คิดคำนวณอย่างมีเหตุผลในการตัดสินใจเลือก โดยมุ่งผลลัพธ์ที่ได้ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ส่วนตัวของ
ตนเองและเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ของตนเองให้สูงสุดให้กับตนเอง (Scott, J.F., 2000)
ในงานของ Scott, J.F. (2000) สันนิษฐานว่าผู้คนมีแรงจูงใจจากเงินและโดยความเป็นไปได้ในการทำ
กำไร และสิ่งนี้ได้อนุญาตให้รัฐศาสตร์สามารถสร้างแบบจำลองพฤติกรรมมนุษย์ที่จะนำไปสู่การคาดการณ์
พฤติกรรมได้เช่นเดียวกับเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าการกระทำทั้งหมดเป็นพื้นฐานของ ‘เหตุผล’ และ
ผู้คนคำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ที่น่าจะเป็นไปได้ของการกระทำใดๆ ก่อนตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรได้เสมอ
ทฤษฎีนี้เรียกว่าทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมใน
รูปแบบของทฤษฎีการแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้
ใน Oxford Bibliographies (2013) กล่าวถึงทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผลว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจาก
การศึกษาที่พบว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่มีเหตุผลที่เหมาะสำหรับการบรรลุเป้าหมายเฉพาะตัว ภายใต้ข้อจำกัดที่
กำหนดโดยสถานการณ์ โดยการเลือกที่มีเหตุผลอาจเกิดขึ้นจาก ปัจจัยด้านความชอบ ความเชื่อ ข้อจำกัดที่พบ
23