Page 28 - b29420_Fulltext
P. 28
(during campaign) การมอบเงิน (cash) การมอบสินค้าและบริการ (good and services) การเลี้ยงอาหาร
และเครื่องดื่ม (food and alcohol) การสัญญาว่าจะให้ (future benefits) และการมอบสิ่งตอบแทนให้ใน
ภายหลัง (rewards for turnouts)
ด้าน Michael Bratton (2008) ชี้ให้เห็นว่าการซื้อเสียงมักเกิดขึ้นกับคนจนไร้การศึกษา สิ่งที่ทำให้คน
กลุ่มนี้ตกเป็นเหยื่อก็เพราะพวกเขาอ่อนไหวต่อการชักจูงทางวัตถุ ส่งผลให้ข้อเสนอสินค้าพื้นฐานหรือเงิน
จำนวนเล็กน้อยสามารถซื้อพวกเขาได้ นอกจากนั้นความไร้การศึกษาจึงทำให้คนกลุ่มนี้ไม่พร้อมจะปกป้องสิทธิ
ของตนจึงมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อ แม้แต่ผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองของพวกเขาเอง ซึ่งข้อเสนอนี้สอดคล้องกับ
แนวคิดของ Richard L. Harsen (2000) และ Assoumou Ondo (2020) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
รายได้ต่ำกับโอกาสในการยินยอมให้มีการซื้อเสียง Richard L. Harsen ระบุว่าผู้ที่มีรายได้น้อยมีโอกาส
มากกว่าที่จะยินยอมพร้อมใจขายเสียงให้แก่นักการเมือง ขณะที่ Assoumou Ondo ที่ศึกษาการทุจริตเลือกตั้ง
ในสาธารณรัฐกาบอง (Gabon) ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจมีส่วนส่งเสริมต่อการทุจริตเลือกตั้งอย่างมาก
Hendra Try Ardianto (2021) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเลือกตั้งและพบสาเหตุที่
ส่งผลต่อการทุจริตเลือกตั้งหลายประการ อาทิ การซื้อเสียงกำลังกลายเป็นธุรกิจทางการเมืองขนาดใหญ่ เมื่อ
ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจและแรงกดดันจากความยากจน ยิ่งส่งผลให้การซื้อเสียงกลายเป็นช่องทางในการ
แสวงหาประโยชน์แม้ในระยะสั้น การศึกษาเป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญ ผลการศึกษาพบว่ายิ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
มีการศึกษาต่ำพวกเขาจะอ่อนแอและยอมขายเสียงได้ง่ายๆ เพราะคนจนและไร้การศึกษาจะไม่สามารถเข้าถึง
ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทางการเมืองได้อย่างเพียงพอ อีกปัจจัยเป็นเรื่องของวัฒนธรรมจากมุมมองที่มอง
เรื่องของการมอบเงินและรับเงินเป็นเรื่องของ ‘บุญคุณ’ เป็นอุปการคุณ สิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับสังคมที่มี
บรรทัดฐานเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในลักษณะต่างตอบแทน (reciprocity) ชุมชนหรือผู้คนที่มีอัต
ลักษณ์เช่นนี้มักจะมองว่าการซื้อเสียงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้เพราะพวกเขาถือว่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็น
นิสัยในหมู่สมาชิกของชุมชนเดียวกัน
แม้การซื้อเสียงในปัจจุบันจะมีรูปแบบซับซ้อนอีกทั้งยังเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากเพราะมีความเกี่ยวพัน
กับวัฒธรรมวิธีคิดและวิถีชีวิตของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม นักวิชาการก็พยายามศึกษาถึงแนวทางจำกัดการ
ทุจริตเลือกตั้งให้เบาบางลงและส่งเสริมให้การเลือกตั้งมีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น David Van
Reybrouck (2016) กล่าวว่า การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ประการแรก
ทุกคนควรจะเลือกได้ ซึ่งหมายความว่าทุกคนควรมีหนึ่งเสียงและทุกเสียงควรมีมูลค่าเท่ากัน ประการที่สอง
ควรมีบางอย่างให้เลือก ทั้งพรรคการเมืองและผู้สมัครควรมีอิสระในการเลือกตั้ง และควรเสนอทางเลือกที่
แท้จริงให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประการที่สาม ผู้สมัครและพรรคการเมืองควรเสนอทางเลือกให้เป็นระยะ
ประการที่สี่ ผู้สมัครที่ผู้คนต้องการควรได้รับการเลือกตั้ง ไม่ควรมีการใช้เทคนิคเพื่อเปลี่ยนแปลงคะแนนหรือ
เปลี่ยนเจตนารมณ์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประการที่ห้า การเลือกตั้งควรทำอย่างเสรีและยุติธรรม ผู้คนสามารถ
เลือกได้ตามที่พวกเขาต้องการจริงๆ และประการที่หก การเลือกตั้งควรเป็นการแข่งขันที่ยุติธรรม แม้การ
18