Page 24 - b29420_Fulltext
P. 24

บทที่ 2

                                            แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


                       ในบทนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อส่งเสริมการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยในที่นี้ผู้วิจัยได้เลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบายไว้  5 เรื่อง

               ประกอบด้วย เรื่องแรกแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (democracy&election) เรื่องที่สองเป็น

               แนวคิดเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง (vote buying) เรื่องที่สามเป็นเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง (political

               culture) เรื่องที่สี่เป็นเรื่องผลประโยชน์และกลุ่มผลประโยชน์ (interest and interest group) และเรื่องที่ห้า
               คือการศึกษาสำหรับพลเมือง (civic education) โดยผู้วิจัยขอนำเสนอสาระของแต่ละแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ

               งานวิจัยชิ้นนี้โดยสังเขปดังนี้


               แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (democracy&election)

                       เมื่อกล่าวถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากเรื่องของสิทธิเสรีภาพแล้ว การเลือกตั้ง
               (election) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตย ในฐานะที่การเลือกตั้งเป็น

               กระบวนการหนึ่งในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบการปกครองนี้ กระทั่งทำให้การเลือกตั้งถูกมอง

               ว่าเป็น ‘สัญลักษณ์’ ของประชาธิปไตยไปโดยปริยาย ส่งผลให้บรรดาประเทศเกิดใหม่รวมไปถึงประเทศที่มี

               ระบอบการปกครองที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยตามเกณฑ์การวัดของสากลต่างพากันนำเอาการเลือกตั้งมาเป็น

               กระบวนการหนึ่งในระบอบการปกครองของตน ดังที่ Wojtasik, W. (2013) ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันมากกว่าหนึ่ง

               ร้อยประเทศในโลกจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ทว่าประเทศเหล่านั้นกลับไม่เป็นประชาธิปไตยเลย ข้อมูล
               จาก Freedom House (2013-2022) ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศที่ไม่เข้าเกณฑ์การเลือกตั้งที่เสรีและเป็น

               ธรรม (not free) แม้จะจัดให้มีการเลือกตั้งมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ ประเทศพม่า ประเทศคองโก รวมไปถึง

               ประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้แม้ประเทศเหล่านั้นจะจัดให้มีการเลือกตั้งทว่าการเลือกตั้งเหล่านั้นก็ไม่ได้

               ส่งเสริมคุณค่าของความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ทั้งยังเสี่ยงที่จะนำมาสู่ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง

               การคอร์รัปชันในการเลือกตั้งด้วยรูปแบต่างๆ

                       Steven Levitsky and Lucan A. Way. (2002) ระบุว่าการเลือกตั้งของประชาธิปไตยกับเผด็จการ

               นั้นแตกต่างกัน เขาเสนอว่าการเลือกตั้งในประเทศประชาธิปไตยจะต้องมีเงื่อนไขขั้นต่ำอย่างน้อย 4 ประการ

               ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและสภานิติบัญญัติได้รับเลือกจากการเลือกตั้งที่เปิดเผย เสรี และยุติธรรม 2) ผู้ใหญ่

               แทบทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนโดยไม่มีการกีดกัน 3) การเลือกตั้งต้องคำนึงถึงสิทธิทางการเมือง

               เสรีภาพพลเมือง รวมทั้งเสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์

               รัฐบาลโดยปราศจากความรุนแรงคุกคามจากรัฐ ประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างกว้างขวาง และ 4)

               หน่วยงานที่ได้รับการเลือกตั้งมีอำนาจที่แท้จริงในการปกครอง การละเมิดเกณฑ์เหล่านี้ทำให้บ่อยครั้งประเทศ
               ต้องประสบกับปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังพบว่าผู้ดำรงตำแหน่งมักใช้ทรัพยากรของ



                                                                                                       14
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29