Page 25 - b29420_Fulltext
P. 25
รัฐในทางที่ผิด ปฏิเสธฝ่ายค้าน ในบางกรณีก็บิดเบือนผลการเลือกตั้ง ขณะที่ นักข่าว นักการเมืองฝ่ายค้าน และ
นักวิจารณ์รัฐบาลอาจถูกสอดแนม ข่มขู่ เป็นต้น ทั้งๆที่สิ่งสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยคือ
ต้องไม่ลดระบอบประชาธิปไตยไปสู่การลงคะแนนเสียง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในสถาบันประชาธิปไตย
ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาทิ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในสหภาพยุโรปพบว่าชาวยุโรปน้อยกว่า 30% มีศรัทธาใน
รัฐสภาและรัฐบาลของประเทศของตนซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา สิ่งนี้บ่งชี้ว่าเกือบสามในสี่
ของประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐของตนซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุด
David Van Reybrouck (2016) กล่าวว่าอาการเหนื่อยล้าในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้เกิดจาก
ประชาชน นักการเมือง หรือพรรคการเมือง เท่ากับเกิดจากกระบวนการลงคะแนนเสียงที่เป็นปัญหา ที่ผ่านมา
การเลือกตั้งทำให้เกิดคำถามว่าพลเมืองได้รับโอกาสในการกำหนดชะตากรรมของชุมชนของพวกเขามากน้อย
แค่ไหน คำว่า “การเลือกตั้ง” และ “ประชาธิปไตย” กลายเป็นคำพ้องความหมาย ทั้งๆที่สองเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่อง
เดียวกัน เมื่อพูดถึง “ประชาธิปไตย” ไม่ได้หมายถึง “การเลือกตั้ง” เท่านั้น แต่การเลือกตั้งนั้งต้องเป็นการ
เลือกตั้งที่ดี เสรีและเป็นธรรมดังที่ปรากฎในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่เช่นนั้นการเลือกตั้งและ
การลงประชามติก็จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่ล้าสมัยและอันตรายหากพวกเขาไม่ได้เสริมด้วยรูปแบบที่
สมเหตุสมผลมากขึ้นของการมีส่วนร่วมของประชาชน
Ardianto, H. (2021) ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการเลือกตั้งที่มีการทุจริตไม่เสรีและเป็นธรรมว่าไม่
เพียงแต่จะก่อให้เกิดความตึงเครียดทางสังคมเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม เช่น ในอินเดียซึ่ง
คุ้นเคยกับระบบวรรณะ การปฏิเสธการซื้อเสียงอาจกลายเป็นปัญหากับผู้นั้นเพราะอาจถูกตีความไปว่าเป็นการ
ปฏิเสธตำแหน่งผู้มีอำนาจเหนือกว่า และนำมาสู่ความรุนแรงได้ ส่งผลให้เรามักพบปรากฏการณ์การซื้อเสียงใน
ภูมิภาคนี้อยู่เสมอ ปรากฏการณ์ที่คล้ายกันก็เกิดขึ้นในไนจีเรียและในแอฟริกา โดย 1 ใน 5 คนอ้างว่ามีส่วนร่วม
ในการซื้อเสียง และ 1 ใน 10 คน ประสบความรุนแรงในการเลือกตั้ง Ardianto, H. ชี้ว่าปัญหาที่สำคัญ
นอกเหนือจากการซื้อเสียงก็คือผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมาภายหลังการเลือกตั้งซึ่งผู้นำที่เข้ามาดำรงตำแหน่งด้วย
การซื้อเสียงนั้นจะหาความรับผิดชอบทางการเมืองและต่อประชาชนไม่ได้ ในประเทศเหล่านี้ นักการเมืองมี
แนวโน้มที่จะทุจริตและเพิกเฉยต่อนโยบายการกระจายสวัสดิการ ดังที่เกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์พบว่า
รัฐบาลมีแนวโน้มในการลงทุนบริการขั้นพื้นฐานน้อยลง เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งจึงไม่เท่ากับระบอบประชาธิปไตย (ในทันที) แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการ
เลือกตั้งเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยในเรื่องของสิทธิเสรีภาพและแนวคิดที่ว่าอำนาจ
อธิปไตยเป็นของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจึง
จำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง เพราะในสังคมที่มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเพื่อ
ร่วมกันตัดสินใจต่อนโยบายสาธารณะได้ทุกวัน การเลือกผู้แทนที่มีความรู้ความสามารถเข้าไปทำหน้าที่จึงเป็น
ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด และในความเป็นจริงก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเวลาและมีความรู้ในการ
15