Page 27 - b29420_Fulltext
P. 27

รุนแรงในการเลือกตั้ง  ขณะที่งานของ วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ เรื่อง “แนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงใน

               การเลือกตั้ง ตามความคิดเห็นของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ( 2557) ก็ชี้ให้เห็นว่าการซื้อสิทธิ

               ขายเสียงยังคงเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผลการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               พบว่าการมอบทรัพย์สินเงินทองเพื่อแลกกับคะแนนเสียงยังคงมีโดยทั่วไปในหลายรูปแบบ อาทิ มอบเสื้อผ้า

               ของใช้ เงินทอง โดยมูลค่าอยู่ที่ประมาณคนละ 500 บาท ถึง 1,000 บาท และอาจจะสูงถึง 2,000 บาทในบาง

               รายขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหัวคะแนน สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้การเลือกตั้งโดยสุจริตจะได้รับการบรรจุเรื่องไว้ใน
               รัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่องขณะที่โทษของการทุจริตเลือกตั้งก็เพิ่มขึ้นแต่ปัญหาการทุจริตเลือกตั้งก็ยังคงไม่หมด

               ไป


                       มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามศึกษาและเสนอแนะถึงเหตุผลที่ทำให้การทุจริตเลือกตั้งยังคงดำรงอยู่มา

               ตราบจนปัจจุบัน งานของ Fabrice Lehoucq (2003) ระบุว่าการทุจริตเลือกตั้งนั้นมีหลายรูปแบบ สามารถจัด

               กลุ่มได้ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ ประการแรก การฉ้อโกง ซึ่งมีตั้งแต่การละเมิดขั้นตอนของกฎหมายการเลือกตั้ง
               ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประการที่สอง การโกงบัตรลงคะแนน ส่วนนี้มุ่งไปที่การมี

               เจตนาปรับเปลี่ยนผลคะแนนเลือกตั้งซึ่งบ่อนทำลายเสถียรภาพทางการเมืองลงไปและจะนำไปสู่ความขัดแย้ง

               ในเวลาต่อมา ประการที่สาม ความรุนแรงของการแข่งขันทางการเมือง อาทิ การโจมตีให้ร้ายด้วยข้อมูลที่ไม่

               เป็นจริง ในฐานะกลยุทธเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย Fabrice Lehoucq กล่าวถึงสาเหตุของการทุจริตเลือกตั้งว่ามี

               มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกตั้งของผู้คน

               เรื่องความไม่เป็นกลางของรัฐ ตัวของข้าราชการและนักการเมือง ปัญหาการใช้ความรุนแรงข่มขู่คุกคามทั้งที่
               เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ระหว่างการหาเสียง หรือแม้แต่คาดการณ์ไปถึงเหตุ

               คุกคามที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลังการเลือกตั้ง ที่สำคัญคือการทุจริตเลือกตั้งอย่างเป็นระบบโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

               ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ โดย Fabrice Lehoucq จำแนกการทุจริตเลือกตั้งออกมาได้มากถึง 30 ประเภท

               ยกตัวอย่างเช่น การกีดกันคนบางกลุ่มออกจากการมีสิทธิเลือกตั้ง การคุกคามโดยพรรคการเมือง นักการเมือง

               หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกข่มขู่ ผู้ลงคะแนนใช้บัตรลงคะแนนมากกว่าหนึ่งใบ ตู้ลงคะแนน
               เสียงอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสมหรือถูกเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันในวันเลือกตั้ง การจัดให้มีการเลือกตั้งเกินเวลา

               ก่อนเวลาหรือนอกเวลาที่กำหนดไว้ ผู้มีสิทธิถูกกีดกันไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนโหวตที่สูงเกินไปเกินกว่าผู้

               มีสิทธิ คนไปใช้สิทธิมากเกินไป มีการอนุญาตให้เปลี่ยนคะแนนเสียงได้  บัตรลงคะแนนมีการเปลี่ยนแปลง การ

               เพิกถอนคะแนนเสียงด้วยเหตุที่ไม่สมควร บัตรประจำตัวผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกปฏิเสธ จำนวนบัตรลงคะแนนไม่

               ตรงกับจำนวนการผลิต การย้ายหีบลงคะแนน บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นผู้นับคะแนน หรือ มีการเปิดเผย

               เอกสารการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง เป็นต้น

                       Callahan, W. A. (2005) กล่าวถึงการซื้อเสียงว่าหมายถึง การที่นักการเมืองจะแลกเปลี่ยนอะไร

               บางอย่างให้กับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง โดยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในที่นี้เขาจำแนกรูปแบบการซื้อ

               เสียงออกมาดังนี้ การแลกเปลี่ยนตามความสมัครใจ (contingent exchange) การให้ระหว่างที่มีการหาเสียง



                                                                                                       17
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32