Page 30 - b29420_Fulltext
P. 30
เพราะนั่นเป็นจุดตั้งต้นของการซื้อเสียง 4) เสริมความแข็งแกร่งให้ภาคประชาสังคมในการเจรจาต่อรองกับ
นักการเมืองและพรคการเมือง เพราะการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมอย่างเป็นระบบในการเมืองเรื่องการ
เลือกตั้งจะสามารถช่วยให้การเมืองอุปถัมภ์อ่อนตัวลงจากการซื้อเสียง 5) เปลี่ยนความคิดต่อการมอบเงินเพื่อ
เป็นสินน้ำใจ โดยเข้าใจเสียใหม่ว่าการหยุดการซื้อเสียงไม่ใช่การตัดความสัมพันธ์ ตัดการกำกับดูแล แต่ควร
เข้าใจว่าสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมต่อการตัดสินใจที่อิสระและมีเหตุผลมากขึ้น และ 6) ปรับปรุงความสัมพันธ์เชิง
อำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน เพื่อทำให้พลเมืองมีตำแหน่งทางการเมืองที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นในการต่อรองผลประโยชน์
ทางการเมือง
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้การเลือกตั้งจะไม่เท่ากับประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งคือเครื่องมือสำคัญ
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) ในระบอบนี้ไม่อาจปฏิเสธ
การเลือกตั้งได้ เพราะมันเป็นการแสดงออกถึงอำนาจอธิปไตยของประชาชนอย่างสำคัญ มันเป็นการเปลี่ยน
ผ่านอำนาจทางการเมืองที่สันติเพื่อให้ได้ผู้นำที่มาจากเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง การเลือกตั้งจึงเป็น
จุดตั้งต้นทางการเมืองตามแบบแผน ตามกฎหมาย และเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยที่พึงได้รับการพัฒนาและ
ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบที่สุด เพื่อกำหนดเป้าหมายในทางการปกครองและการอยู่ร่วมกัน
อย่างรับผิดชอบของทุกฝ่าย ดังนั้น แม้การเลือกตั้งจะถูกมองว่ากำลังลดทอนประชาธิปไตยให้เหลือเพียงแค่
คะแนนเสียง แต่การเลือกตั้งก็เป็นเครื่องมือที่จำเป็นและควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพ
ประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในรัฐ
แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง (political culture)
แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองได้รับการกล่าวถึงมานานแล้ว โดยทางด้านรัฐศาสตร์งานกลุ่มนี้จะ
มองว่าวัฒนธรรมทางการเมืองนั้นมีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองอย่างสำคัญ โดยงานชิ้นสำคัญที่ทำให้
วัฒนธรรมทางการเมืองถูกมองว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญของพฤติกรรมทางการเมืองก็คืองานเรื่อง The civic
culture : political attitudes and democracy in five nations (1965) ของ แกรเบรียล อัลมอนด์
(Gabriel Almond) และ ซิดนี่ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทาง
การเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆตามวัฒนธรรมทางการเมือง 1) วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
(participant cultures) ซึ่งวัฒนธรรมประเภทนี้จะพบได้ในประเทศประชาธิปไตยที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม
ซึ่งจะทำให้คนในสังคมมีวัฒนธรรมกระตือรือร้น เข้าใจถึงความสำคัญของสถาบันทางการเมือง และมองว่าตน
กับสถาบันทางการเมืองเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันและต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งกับสถาบัน
ทางการเมือง 2) วัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า (subject cultures) ซึ่งในที่นี้พบได้มากในประเทศที่มีกำลังพัฒนา
ที่ผู้คนในสังคมรู้จักและเข้าใจถึงบทบาทของสถาบันทางการเมือง ทว่ามองบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่าง
ตนกับสถาบันทางการเมืองในลักษณะของการยอมรับอำนาจและทำตามมากกว่าจะเข้าไปมีส่วมร่วมคิดร่วม
มอบข้อเสนอในทางปกครอง และ 3) วัฒนธรรมแบบคับแคบ (parochial cultures) ซึ่งมักปรากฎในพื้นที่
20