Page 32 - b29420_Fulltext
P. 32
อย่างไรก็ตาม Joseph de Rivera มองว่าการที่สังคมจะไปถึงวัฒนธรรมที่เป็นประชาธิปไตยข้างต้น
จำเป็นต้องก้าวข้ามข้อท้าทาย ดังต่อไปนี้
1) เจตคติที่ยึดติดไม่ยอมเปลี่ยนแปลง : ความยึดติดเป็นข้อท้าทายอย่างสำคัญที่ส่งผลให้วัฒนธรรม
ประชาธิปไตยเกิดขึ้นไม่ได้ ผู้คนในสังคมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีการรับรู้ “อีกฝ่าย” เพื่อสร้าง
โอกาสในการเรียนรู้ความแตกต่างและยอมรับสิ่งที่หลากหลาย
2) ความคิดที่ลื่นไหล: ในที่นี้เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะมีความคิดเปลี่ยนแปลงไปได้เป็นระยะ
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยความเหมาะสมและผลประโยชน์บางประการ ในที่พึงต้องระมัดระวังรู้เท่าทันความ
เปลี่ยนแปลงและยอมรับเรื่องดังกล่าวว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ลดอคติและรับฟังความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3) การเสริมกำลัง: ดังที่ชี้ให้เห็นไปว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ แต่ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น การกำหนดให้มีสถาบันทางการเมืองบางประการเพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจึงมี
ความจำเป็นเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่กำลังเติบโตขึ้นพร้อมทั้งป้องกันไม่ให้วัฒนธรรม
ประชาธิปไตยที่กำลังเติบโตถูกกัดกร่อนลงไป การสร้างวัฒนธรมประชาธิปไตยจึงไม่ได้จบลงที่จะสร้าง
วัฒนธรรมดังกล่าวขึ้นมาได้อย่างไรเท่านั้นแต่ยังอยู่ที่จะรักษาวัฒนธรรมเหล่านั้นให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างไร
Howard Richards and Joanna Swanger (2009) เป็นอีกผู้หนึ่งที่มองว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่
เปลี่ยนแปลงได้ปัจจุบันมีวัฒนธรรมหลายเรื่องที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปที่จะส่งเสริมต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
อาทิ 1) ปัจจุบันผู้คนในสังคมให้การยอมรับวัฒนธรรมแบบสันติวิธีในการแก้ไขปัญหามากขึ้น กล่าวคือ ใช้การ
สนทนา การเจรจาในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทต่างๆโดยไม่ใช้ความรุนแรง 2) สังคมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะ
ยอมรับความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ขยายบรรทัดฐานทางสังคมออกไป ไม่ยึดติดอยู่กับแนวคิดแบบปิตาธิป
ไตยหรืออำนาจที่ผู้ชายเป็นใหญ่เช่นในอดีต และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น 3) สังคมในปัจจุบันมี
แนวโน้มที่จะเห็นความสำคัญของความสมานฉันท์และการไม่สร้างความแตกแยกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของ
กลุ่มต่างๆมากขึ้น 4) ผู้คนในสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มให้ความสนใจเข้าไปมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย
มากขึ้น สังคมสนับสนุนต่อการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีมากขึ้น 5) สังคมในปัจจุบันมีความกล้าหาญในการ
ตรวจสอบควบคุมการทำงานของรัฐมากขึ้น มีการเรียกร้องการทำงานด้วยความโปร่งใส รับผิดชอบและ
ต้องการให้มีการสื่อสารกับสาธารณะชนมากขึ้น 6) การเคารพสิทธิมนุษยชนกลายเป็นเรื่องปกติในสังคม
ปัจจุบัน โดยอาศัยอำนาจที่ชอบธรรมตามกฎหมาย
งานวิจัยชิ้นนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรม และมองว่าการ
แสดงออกทางการเมืองหลายครั้งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ‘วัฒนธรรมทางการเมือง’ ที่ถูกบ่มเพาะมาในสังคมและ
ตกผลึกกลายเป็นพฤติปฏิบัติที่ผู้คนมองว่าเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าเรื่องนั้นจะไม่สอดคล้องและไปกันไม่ได้กับ
วัฒนธรรมประชาธิปไตยแต่ก็ยากที่จะเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมอุปถัมภ์ในสังคมไทย ที่ชาญชัย จิตร
เหล่าอาพร (2561) ชี้ให้เห็นว่าการทุจริตเลือกตั้งในสังคมไทยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก วัฒนธรรมทางการเมือง
22