Page 31 - b29420_Fulltext
P. 31

ห่างไกล พื้นที่ชายขอบที่ไม่ทราบถึงการมีอยู่ตลอดจนความสำคัญของสถาบันทางการเมือง จึงไม่ทราบทบาท

               และความสัมพันธ์ที่ตนพึงมีกับสถาบันทางการเมืองเหล่านั้น ส่งผลให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยหรือแทบ

               ไม่มี


                       งานเรื่อง Thailand: The modernization of a Bureaucratic Polity ของ Fred Riggs (1966) เป็น

               งานอีกชิ้นหนึ่งที่ศึกษาวัฒนธรรมของผู้คนในสังคมไทยและชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรมทางการเมืองบาง
               ประการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนในสังคมไทย สืบเนื่องจากระบบหลักในสังคมไทยดำเนินการ

               โดยระบบราชการที่เป็นรากฐานขนาดใหญ่ในสังคม กระทั่ง Fred Riggs เรียกสังคมไทยว่ามีลักษณะเป็น ‘รัฐ

               ราชการ’ ที่เรียกว่าระบบอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity) ซึ่งรัฐในลักษณะนี้จะปกครองโดย

               ข้าราชการ และมีลักษณะที่เน้นความเป็นพวกพ้องค่อนข้างมาก ซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยเดิมหลาย

               ประการ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมผู้ใหญ่ผู้น้อยของสังคมไทย วัฒนธรรมกลุ่ม พันธมิตรระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม

               ซึ่งส่งผลให้สังคมไทยมีลักษณะของวัฒนธรรม ‘อุปถัมภ์’ สังคมในลักษณะนี้ส่งผลให้กลุ่มและพรรคพวกมี
               ความสำคัญอย่างมากและในสังคมไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มข้าราชการและกลุ่มทุนที่กำลังมีอิทธิพลทาง

               การเมืองอย่างมาก


                       ด้าน Inglehart, R., & Welzel, C. (2003) ชี้ให้เห็นว่าในสังคมที่ผู้คนมีความไว้วางใจและมีความพึง

               พอใจในชีวิตสูง สังคมนั้นจะมีสถาบันทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมาก ส่วนสังคมที่มีสถาบันทางการเมือง

               ไม่เป็นประชาธิปไตยส่งผลต่อความไว้วางใจและความพึงพอใจในชีวิตที่ต่ำ ซึ่งสถาบันทางการเมืองจะเป็น

               ประชาธิปไตยหรือไม่เพียงใดก็มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทางการเมือง กล่าวคือในสังคมที่วัฒนธรรมทาง
               การเมืองเน้นการแสดงออก ความอดทน ความไว้วางใจ ความพึงพอใจในชีวิต และการมีส่วนร่วม นับเป็น

               ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพอย่างน่าทึ่ง นอกเหนือไปจากการระดับของ

               การพัฒนาเศรษฐกิจและระยะเวลาที่มีประสบการณ์กับสถาบันในระบอบประชาธิปไตย


                       สำหรับวัฒนธรรมที่จะส่งเสริมต่อประชาธิปไตยนั้น Joseph de Rivera (2009) เสนอให้พิจารณาจาก

               เงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1) ในสังคมพลเมืองมีเสรีภาพในการเลือกได้ และได้รับการสนับสนุนให้ตอบสนองความ
               ต้องการส่วนบุคคลได้ 2) สังคมนั้นมีการเลือกตั้งที่สม่ำเสมอ 3) ผู้คนในสังคมมีความรู้สึกว่าพวกเขาสามารถ

               ตัดสินใจเลือกหรือหาทางออกให้กับปัญหาท้องถิ่นได้ 4) สภาและสถาบันทางการเมืองถูถควบคุมโดยสภาเมือง

               ของพลเมือง 5) ความสามารถในการเข้าถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนของพลเมือง 6) การทำงานของรัฐมีการสื่อสาร

               เปิดกว้างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ

               ประชาชนมีวัฒนธรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับประชาธิปไตย ประกอบด้วย การมีทัศนคติเชิงบวก ลดอคติ

               มีความเห็นอกเห็นใจ ปฏิบัติต่อกันด้วยความกรุณา เต็มใจที่จะให้อภัย ไม่สนับสนุนการเข่นฆ่ากันหรือลงโทษให้

               ถึงแก่ความตายแม้แต่กับฆาตกร (give death penalty for murder) ไม่สนับสนุนความรุนแรงหรือการทำร้าย
               ร่างกายกันแม้แต่กับพวกผู้ร้ายหรือโจร ใช้สิทธิที่มีตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ของสังคมประเทศชาติ ไม่ใช้สิทธิ

               ที่มีในการโจมตีเอาเปรียบผู้ใด และยินดีที่จะจ่ายภาษีเพื่อบำรุงประเทศ


                                                                                                       21
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36