Page 26 - b29420_Fulltext
P. 26
ตัดสินใจทุกเรื่อง ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จึงปกครองโดยตัวแทนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะ
เมื่อเป็นเช่นนี้การเลือกตั้งจึงมีความสำคัญสำหรับระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน
ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่จึงมองว่าการเลือกตั้งแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย
แต่ก็เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ระบอบประชาธิปไตยแบตัวแทนพึงมี อาทิ Jeremy Bentham (Philip Schofield
2006) ชี้ให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1) มีการเลือกตั้ง
ทั่วไป (universal suffrage) 2) การเลือกตั้งต้องเป็นไปโดยอิสระและเป็นทางลับ 3) มีการประชุมของรัฐสภา
โดยปกติเป็นประจำ และ 4) มีความโปร่งใส (transparency) ในการบริหารและไม่ปิดกั้นการแสดงความ
คิดเห็นของสาธารณะชน ด้าน Larry Diamond (2004) เสนอว่าในระบอบประชาธิปไตย การเลือกรัฐบาลใหม่
เข้ามาทดแทนรัฐบาลเก่านั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องเป็นไปโดยเสรีเป็นธรรม ยึดหลักนิติธรรม เปิดโอกาสให้
ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่โดยปกป้องสิทธิมนุษยชนของพวกเขาไว้อย่างเต็มที่ ด้าน Wojtasik W.
(2013) ระบุว่า หน้าที่สำคัญที่สุดของการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตย คือการ มอบอำนาจการเป็นตัวแทน
ทางการเมืองให้แก่ผู้นำ เป็นการคัดเลือกผู้นำที่มีความสามารถ และทำให้การเข้ามาดำรงตำแหน่งถูกต้องตาม
กฎหมายเพื่อประโยชน์ในการควบคุมอำนาจทางการเมืองและสร้างความรับผิดชอบทางการเมือง ในแง่นี้การ
เลือกตั้งจึงมีความสำคัญ และการแข่งขันในการเลือกตั้งก็มีความสำคัญเพื่อสร้างเป้าหมายในการแข่งขัน สร้าง
แรงจูงใจในการทำเพื่อประชาชน ก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจว่าจะให้ความชอบธรรมแก่ใครและในระดับใด
เพื่อใช้อำนาจแทนตน ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยจึงไม่ใช่แค่การถ่ายโอนอำนาจเท่านั้น แต่
เป็นการมอบความชอบธรรมทางการเมือง (political legitimacy) ตามระบอบประชาธิปไตย ในแง่นี้การ
เลือกตั้งที่เคารพในหลักการที่เสรีและยุติธรรม จึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบอบประชาธิปไตย
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรจัดให้มีขึ้น
โดยยึดหลักดังต่อไปนี้ 1) ควรจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) อย่างสม่ำเสมอ โดยเป็นการ
เลือกตั้งที่เป็นธรรม (free and fair election) เป็นความลับ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตัดสินใจอย่าง
อิสระเสรี ไม่ถูกจำกัดกีดกันทางความคิดหรือถูกคุกคาม 2) มีหลักนิติธรรมเป็นหลักในการปฏิบัติกับทุกฝ่าย
อย่างเท่าเทียมกันไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทุกฝ่ายต้องเสมอกันและได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตาม
กฎหมาย และ 3) รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะต้องเป็นรัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้ามาด้วยเจตนารมณ์ที่
แท้จริง เป็นรัฐบาลของประชาชน ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการตามกฎหมาย
แนวคิดเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง (vote buying)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันปัญหาการทุจริตเลือกตั้งยังคงดำรงอยู่และเกิดขึ้นโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่นงาน
ของ Susan C. Stokes (2004) ที่ชี้ให้เห็นว่าการซื้อเสียงยังคงมีอยู่ในอาร์เจนตินาแม้การลงคะแนนจะถูก
กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าให้เป็นความลับก็ตาม ด้าน Michael Bratton (2008) กล่าวถึงบรรยากาศการ
เลือกตั้งในประเทศไนจีเรียว่าการซื้อเสียงและการข่มขู่ทางการเมืองเป็นมิติเฉพาะของการเลือกตั้งในแอฟริกา
จากการสำรวจพบว่าชาวไนจีเรียเกือบหนึ่งในห้าถูกซื้อเสียงและเกือบหนึ่งในสิบประสบกับภัยคุกคามจากความ
16