Page 22 - b29420_Fulltext
P. 22

อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตต์ และอำเภอโพนทราย ในการเลือกตั้งระดับท้องที่ ในปี 2560-2564 เพื่อศึกษา

               ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไป

               ดำเนินการ ตลอดจนศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียง รวมไปถึงความต่อเนื่องของกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               ระเบียบวิธีวิจัย
                       งานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบผสม (mixed method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ

               (quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณนำมาใช้เพื่อ
               สำรวจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่นำกระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               ไปดำเนินการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมไปถึงศึกษาความแตกต่างกัน

               ระหว่างพื้นที่ที่ดำเนินโครงการกับพื้นที่ที่ไม่ดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
                       ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนำมาใช้เพื่อทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลและเก็บข้อมูลในรายละเอียดเพื่อ

               ตอบคำถามเรื่องเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อกระบวนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
               ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาตัวแบบ (model) ของกระบวนการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสำหรับขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป

                       การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการด้วยวิธีการผสมผสานระหว่างการเก็บแบบสอบถาม (questionnaire)
               การสัมภาษณ์ซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง

               (semi-structured interview) การสนทนากลุ่ม (focus group) และการศึกษาเอกสาร (documentary

               research) จากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย แกนนำที่ดำเนินโครงการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ
               ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 17 แห่งในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยแต่ละกลุ่มเป้าหมายจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่

               แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม กล่าวคือ 1) แกนนำผู้ดำเนินโครงการในพื้นที่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
               และการจัดสนทนากลุ่ม 2) ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดย

               การสัมภาษณ์และขอความอนุเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการ

               สัมภาษณ์ โดยเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและความเที่ยงตรงของข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลถูก
               ตรวจสอบให้ความเห็นโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและได้นำผลจากการทดสอบไปปรับปรุงตามคำแนะนำก่อน

               นำไปใช้จริง ข้อมูลที่ได้จากวิธีการเก็บข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่หลากหลายจะถูกนำมาทวนสอบกันไปมาตาม
               หลักการตรวจสอบแบบสามเส้า (triangulation) โดยข้อมูลจากแบบสอบถามจะได้รับการทวนสอบจากการ

               สัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มอีกครั้ง อันเป็นการตรวจสอบ 2 ชั้น (double check) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของ

               ผลการศึกษา






                                                                                                           12
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27