Page 20 - b29420_Fulltext
P. 20

กรอบแนวคิดในการวิจัย


                       จากสมมติฐานการวิจัยข้างต้นและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จะพบได้ว่าความรู้ (knowledge) และ

               กระบวนการดำเนินโครงการ (process) เป็นตัวแปรสำคัญต่อการปรับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้คน อย่างไรก็
               ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายประการ อาทิ เงื่อนไขด้าน

               ความเชื่อ วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ผลประโยชน์ต่างๆ ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงจำแนกตัวแปรต้นที่อาจ

               ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไว้ 5 ประการ

               ประกอบด้วย 1. บทบาทของแกนนำ 2. กระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่แกน

               นำดำเนินการ 3. องค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอดระหว่างกระบวนการ 4.วัฒนธรรมเกี่ยวกับการเลือกตั้งของคนใน

               ชุมชน และ 5. ผลประโยชน์ต่างๆที่ได้รับการประเมินโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

               ภายหลังดำเนินโครงการ คือ ความรู้ความตระหนักของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การซื้อเสียงที่ลดลง และความสมานฉันท์ที่
               เพิ่มมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ดังแผนภาพ 1


                       แผนผังที่ 1 กรอบการวิจัย


                            ตัวแปรต้น                           ความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
                            1. แกนนำ                            1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้ มีความตระหนักและมีพฤติกรรมที่
                            2. กระบวนการ                        ส่งเสริมต่อการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ

                            3. องค์ความรู้                      2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีรับรู้ถึงการซื้อเสียงลดลงและความ

                            4. วัฒนธรรม                         สมานฉันท์ที่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
                            5. ผลประโยชน์




               ขอบเขตการวิจัย

                       ขอบเขตด้านพื้นที่

                       การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการกับการพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย

               เสียงในจังหวัดร้อยเอ็ดระหว่างปี 2560-2564 ในอำเภอที่มีการดำเนินโครงการ ทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย อำเภอ

               เมืองร้อยเอ็ด อำเภอโพนทอง อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตต์ และอำเภอโพนทราย ในหมู่บ้าน

               ตำบล ที่มีการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จำนวน 12 แห่ง และหมู่บ้านข้างเคียง

               พื้นที่ดำเนินโครงการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านแบบสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงซึ่งได้จากการสุ่มเลือก จำนวน 5
               แห่ง รวมจำนวนพื้นที่เป้าหมายทั้งสิ้น 17 แห่ง (ดังตารางที่ 2)






                                                                                                           10
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25