Page 15 - b29420_Fulltext
P. 15
ฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงโดยเสรีเพื่อแสวงหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ต่อไป (Robert A. Goldwin &
William A. Schambra eds., 1980)
แน่นอนว่าการเลือกตั้งไม่ใช่เพียงองค์ประกอบเดียวของประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ เพราะการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยนั้นสามารถกระทำได้ผ่านรูปแบบกิจกรรมต่างๆมากมาย กระนั้น การมีส่วน
ร่วมทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งก็นับเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมขั้นพื้นฐานของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งผู้เข้าร่วมกว้างขวางมากที่สุดเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติ ตั้งแต่ช่วงของการเลือกตั้ง
ซึ่งเป็นการตั้งหางเสือไว้สำหรับรัฐนาวาให้เคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องตั้งแต่แรก จึงเป็นการดีกว่าหากพลเมืองผู้มี
สิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเสรีภาพที่ตนมีได้เสรีอย่างแท้จริง เป็นการใช้สิทธิเลือกตั้งโดยตระหนักถึงความสำคัญ
ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เป็นการใช้สิทธิบนฐานข้อมูลนโยบายและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
นโยบายเพื่อประโยชน์โดยรวม ไม่ใช่การตัดสินใจบนฐานของการเลือกที่รักมักที่ชัง เป็นการตัดสินใจที่ประชาชน
สามารถมีส่วนร่วมกำหนดวาระต่างๆได้ตั้งแต่แรกและเป็นการตัดสินใจที่จะสร้างผลผูกพันให้แก่ผู้แทนที่ได้รับการ
เลือกตั้งจะต้องปฏิบัติตาม เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นกลไกที่มีคุณภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองโดยประชาชนตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ในแง่นี้เมื่อพิจารณากระบวนการเลือกตั้งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากระบวนการเลือกตั้งมักเริ่มต้นจเมื่อมี
ประกาศวันเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จากนั้นจึงเป็นการรับสมัครผู้สนใจลงสมัครรับเลือกตั้ง นำไปสู่
การแข่งขันกันหาเสียงระหว่างผู้สมัครกลุ่มต่างๆ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีบทบาทเพียงสำรวจตรวจสอบรายชื่อของตน
ว่ามีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ จะต้องมีการลงคะแนนล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้งหรือไม่ หรือมีผู้ใดเข้ามาแอบแฝงเป็นผู้มี
สิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อของตนหรือไม่ สุดท้ายคือไปใช้สิทธิเมื่อถึงวันเลือกตั้ง เหล่านี้เป็นวงจรการเลือกตั้งที่
ได้รับการรับรองไว้ตามกฎหมาย แม้ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2560) จะระบุถึงการมี
ส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งรูปแบบต่างๆในช่วงของการเลือกตั้งไว้มากมาย อาทิ การให้ความคิดเห็นหรือต่อรอง
เชิงนโยบาย การรณรงค์ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและร่วมกันส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบเหล่านั้นก็ไม่ได้มีการระบุถึงช่องทางในการเข้าไปร่วมรณรงค์หรือ
ช่องทางที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะสามารถสื่อสารหรือเข้าถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้งและโดยที่
ข้อเสนอของพวกเขาจะได้รับการยอมรับนำไปบรรจุไว้เป็นนโยบายของผู้สมัครและมีโอกาสที่จะได้รับการนำไป
ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม วงจรการเลือกตั้งที่ผ่านมาจึงขาดรูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
กระบวนการเลือกตั้งอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งๆที่ช่วงเวลาเลือกตั้งควรเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ใช้
อำนาจอธิปไตยของตนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
5