Page 12 - b29420_Fulltext
P. 12
โดยบุคคลได้รับการรับรองให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่เห็นว่าเป็นไปโดยมิชอบได้ โดยในพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฉบับต่อๆมาก็ได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติอีกมากมายเพื่อป้องกันมิให้การ
เลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ชอบไว้ อาทิ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร พ.ศ.2561 ได้มีบทบัญญัติเรื่องข้อห้ามไว้จำนวนมากถึง 24 มาตรา อาทิ ห้ามไม่ให้บุคคลยินยอมให้มีการ
ย้ายผู้ใดเข้ามาในทะเบียนบ้านของตนเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งโดยมิชอบ ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทําการ
อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่
ผู้สมัคร และ ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้งเกินจํานวนค่าใช้จ่ายที่กําหนด เป็นต้น ซึ่งข้อ
ห้ามมิให้มีการซื้อสิทธิขายเสียงได้รับการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 73 ครอบคลุมทั้งผู้สมัครและผู้มิสิทธิ
เลือกตั้ง ความว่า “ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนน
ให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” และในมาตรา 101 ความว่า “ห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน
ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนหรืองดเว้นไม่ลงคะแนน” เป็นต้น
จึงกล่าวได้ว่าเรื่องการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ
กล่าวถึงมาเป็นเวลานานแล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และเรื่องดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงมานับตั้งแต่ที่
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตาม แม้การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้น
โดยได้มีการบัญญัติมาตราต่างๆเพื่อป้องกันมิให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่ชอบไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่
เกี่ยวข้องหลายมาตรา ทว่าปัญหาการทุจริตเลือกตั้งก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากข้อมูลการฟ้องร้อง
คดีอันเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตการเลือกตั้งที่สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รวบรวมไว้
ตั้งแต่ พ.ศ.2543-2558 ซึ่งพบว่าตลอดระยะเวลา 15 ปี การเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นของไทยมีคดี
ความเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตการเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 1,967 เรื่อง ล่าสุดในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 ยังพบว่ามี
ปัญหาทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นหลายกรณี ข้อมูลจากรายงานผลการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ระบุว่าในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี 2562 นั้น มีจำนวนเรื่องคัดค้านและ
สำนวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภาและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป จำนวน 625 เรื่อง โดย
คณะกรรมการรับพิจารณาคำร้อง 625 เรื่อง และมีคำวินิจฉัยชี้ขาดสำนวนแล้วจำนวน 283 คดี
มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบอันสืบเนื่องจากการทุจริตเลือกตั้งต่อการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย Rafael López-Pintor (2010) ชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยที่ได้มาตรฐานนั้นสัมพันธ์กับทุกขั้นตอน
กระบวนการของการเลือกตั้ง นับตั้งแต่กระบวนการออกแบบการเลือกตั้งเรื่อยไปจนถึงเมื่อสิ้นสุดการเลือกตั้ง ซึ่งใน
2