Page 11 - b29420_Fulltext
P. 11

บทที่ 1


                                                    ที่มาและความสำคัญ


               หลักการและเหตุผล
                       การเลือกตั้งนับเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้จึงทำ

               ให้ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งได้รับการศึกษาในฐานะหนึ่งในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อส่งเสริมให้

               การเลือกตั้งนั้นเสรีและเป็นธรรม (Larry Diamond, 2004; E Hernández, 2016; Levine, D. H., & Molina, J.

               E. (eds. ) , 2011; Beetham, D., & Boyle, C.   K., 2009; ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร, 2561) นอกจากนั้น

               การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมยังได้รับการกล่าวถึงไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อ 21(1) (3) ความ

               ว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศโดยตรงหรือผ่านผู้แทนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยอิสระ” และ

               “เจตจำนงของประชาชนจะต้องเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจการปกครอง ทั้งนี้เจตจำนงดังกล่าวจะต้องแสดงออก
               ทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา และต้องเป็นการออกเสียงโดยอิสระเสมอภาคและเป็นการลงคะแนนโดยลับ”


                       ด้านประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมเช่นกัน โดยได้กล่าวถึงกระบวนการ

               ส่งเสริมการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมด้วยการลงคะแนนโดยตรงและเป็นความลับไว้รัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 เป็นต้นมา ทั้งยังกำหนดให้การเลือกตั้งที่

               สุจริตเป็น “หน้าที่” ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับ อาทิ
               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ในมาตรา 49 พ.ศ. 2517 ในมาตรา 58 และ พ.ศ.2540 มาตรา 68

               โดยนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับโทษที่

               เกี่ยวเนื่องกับการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือการทุจริตเลือกตั้งให้ต้องเสียสิทธิตามกฎหมายด้วย อาทิ ผู้นั้นต้องเสีย

               สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง เสียสิทธิในการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเสียสิทธิในการเข้าชื่อ

               เสนอร่างกฎหมายหรือคัดค้านร่างกฎหมาย เป็นต้น ขณะที่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.

               2560) ก็ได้เน้นย้ำการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมให้เด่นชัดยิ่งขึ้น โดยเพิ่มเติมเรื่องการเลือกตั้งที่ต้องเป็นอิสระไม่ถูก
               ครอบงำไว้ในมาตรา 45 (2) ความว่า “...กําหนดมาตรการให้สามารถดําเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงําหรือชี้นํา

               โดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการกํากับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมือง

               กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง...”


                       นอกจากนั้น บทบัญญัติเพื่อส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมยังได้รับการบัญญัติไว้ใน

               พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา





                                                                                                            1
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16